Broadband คืออะไร
Broadband เป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูลความเร็วสูงที่ใช้งานกับอินเทอร์เน็ต เพื่อลดข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่การให้บริการและข้อจำกัดของการรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมีด้วยกันหลายประเภท เช่น เทคโนโลยีเคเบิลโมเด็ม, เทคโนโลยี DSL เป็นเทคโนโลยีการใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาตามบ้าน โดยการเพิ่ม DSL Modem เข้าไปก็สามารถที่จะใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้แล้ว หรือ Broadband Satellite เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ดาวเทียมและโมเด็มระบบดาวเทียมในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น บริการ Net-Turbo ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น
ADSL (Asynchronous Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มแบบใหม่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นแบบสายคู่ตีเกลียวที่มีอยู่เดิม ให้กลายเป็นเส้นทางเข้าถึงมัลติมีเดียและการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ โดย ADSL สามารถสื่อสารด้วยความเร็วกว่า 6 Mbps ไปยังผู้ใช้บริการ และได้เร็วถึงกว่า 640 Kbps ในสองทิศทาง ซึ่งอัตราความเร็วดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจุของสายโทรศัพท์แบบเดิมได้กว่า 50 เท่า โดยไม่ต้องลงทุนวางสายเคเบิลใหม่ ADSL สามารถแปลงโครงข่ายข้อมูลข่าวสารพื้นฐานที่มีอยู่จากที่เคยจำกัดเพียงการให้บริการด้านเสียง ข้อความ และกราฟิกที่มีรายละเอียดไม่มากนัก ให้กลายเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ได้กับมัลติมีเดีย รวมทั้งการส่งภาพเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์แบบไปยังบ้านเรือนต่าง ๆ ในทศวรรษนี้ได้อย่างแพร่หลายทั่วไป
WiMAX เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเข้าถึงแบบบรอดแบนด์ (Broadband Access) มีการพัฒนาโดยคณะกรรมการ IEEE 802 ซึ่งได้ตั้งกลุ่มทำงานขึ้นในปี ค.ศ. 1999 เพื่อพัฒนามาตรฐานใหม่สำหรับงานประยุกต์การเข้าถึงบรอดแบนด์แบบไร้สาย (Broadband Wireless Access: BWA) หรือที่เรียกว่า IEEE 802.16 ต่อมาองค์กรทาง อุตสาหกรรมที่มีชื่อว่า The Worldwide Interoperability for Microwave Access (WiMAX) Forum (WiMAX Forum) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2001 เพื่อสนับสนุน 802.16 ทั้งนี้เครือข่าย 802.16 จึงมักถูกเรียกว่าเครือข่าย WiMax เนื่องจากเทคโนโลยี WiMAX มีการกำหนดย่านความถี่ให้ใช้งานได้หลายย่านความถี่ด้วยกัน ได้แก่ 2.3 GHz, 2.5 GHz, 3.5 GHz และ 5.7 GHz ซึ่งหากส่งสัญญาณด้วย Bandwidth ที่กว้าง ระบบก็จะสามารถรองรับข้อมูลจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน แต่หากส่งสัญญาณด้วย Bandwidth ที่แคบ ระบบก็จะรับส่งข้อมูลได้น้อยลงตามสัดส่วนของ Bandwidth กล่าวคือ การให้บริการ WiMAX ด้วยคลื่นความถี่วิทยุย่าน 5.7 GHz น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หลีกเลี่ยง เนื่องจากการรับส่งสัญญาณที่ย่านความถี่สูงมีผลกระทบจากการแพร่กระจายมากกว่าการส่งที่ความถี่ต่ำ จึงทำให้ต้องติดตั้งสถานีฐาน WiMAX เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การลงทุนไม่คุ้มค่า ปัจจุบัน ย่านความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการให้ใบอนุญาตบริการ WiMAX อยู่ที่ย่านความถี่ 2.3 GHz – 2.4 GHz และย่านความถี่ 2.5 GHz – 2.69 GHz โดยความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่เหมาะสมสำหรับบริการ WiMAX มีแนวคิดแบ่งเป็น 2 แนวทางคือ
1) บริษัท Intel แนะนำความกว้างของช่องสัญญาณไว้ที่ 30 MHz โดยความกว้างดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการบริการ WiMAX สามารถดำเนินกิจการอยู่ในตลาดได้
2) บริษัท Huawei แนะนำความกว้างของช่องสัญญาณไว้ที่ 20 MHz ซึ่งความกว้างดังกล่าวมีขนาดเพียงพอสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับบริการ WiMAX เทคโนโลยี WiMAX มีความเหมาะสมในการเชื่อมโยงบริการเครือข่ายไปสู่บริเวณที่ห่างไกลหรือถิ่นธุรกันดารทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา และยังได้รับความนิยมในประเทศที่กำลังพัฒนาที่ผู้ให้บริการยังไม่ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี 3G อย่างไรก็ดี อุปสรรคหลักของการติดตั้งและใช้งาน WiMAX อยู่ที่ การไม่สามารถจัดสรรย่านความถี่ให้ WiMAX นโยบายการกำกับดูแลที่ไม่สนับสนุนการเกิดของ WiMAX และ ปริมาณการใช้งานคอมพิวเตอร์และรายได้เฉลี่ยต่อประชากรที่ต่ำในประเทศที่กำลังพัฒนา
Satellite (IPSTAR)
เป็นดาวเทียม Broadband ทำหน้าที่เป็นตัวทวนสัญญาณ ซึ่งสัญญาณที่ถูกส่งขึ้นสู่ดาวเทียมจะถูกขยายและส่งกลับมายังโลก โดยที่พื้นที่ให้บริการของดาวเทียม IPSTAR มีเป็นลักษณะ SPOT มีบริเวณแคบ ซึ่งจะให้กำลังในการส่งสูงขึ้น รูปแบบการติดต่อสื่อสาร (Topology) เป็นแบบ STAR และเส้นทางการติดต่อสื่อสารระหว่างแต่ละ SPOT กับ Gateway จะถูกควบคุมโดยระบบ payload ของดาวเทียม ดาวเทียมบรอดแบนด์ (Broadband Satellite) หมายถึง ดาวเทียมที่สามารถให้บริการแบนวิดท์กว้างๆ ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบบริการต่างๆ มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การให้บริการการประชุมวิดีโอทางไกล Video on Demand นอกจากนี้รูปการให้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีราคาถูกลง และสามารถให้บริการในปริมาณที่มากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์ชนบท การกระจายสัญญาณโทรทัศน์แบบที่สามารถมีการตอบโต้ได้ การเช่าใช้ช่องสัญญาณของบริษัทต่างๆ อินทราเน็ต
When all other available options fail, the satellite connection comes into play. BROADBAND SOLUTION ตัวอย่างโซลูชันบรอดแบนด์
1. VoIP VOICE OVER INTERNET PROTOCOL หรือที่เรียกกันว่า “VoIP ” หมายถึง การส่งเสียงบนเครือข่ายไอพี เป็นระบบที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปของสัญญาณไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอล คือ นำข้อมูลเสียงมาบีบอัดและบรรจุลงเป็นแพ็กเก็ต ไอพี (IP) แล้วส่งไปโดยมีเราเตอร์ (Router) ที่เป็นตัวรับสัญญาณแพ็กเก็ต และแก้ปัญหาบางอย่างให้ เช่น การบีบอัดสัญญาณเสียง ให้มีขนาดเล็กลง VoIP ใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการ ระบบการติดต่อสื่อสารจึงมีความยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากกว่า พร้อมรองรับการขยายตัวขององค์กรในอนาคต การแก้ปัญหาเมื่อมีบางแพ็กเก็ตสูญหาย หรือได้มาล่าช้า (delay) สำหรับการใช้งานเทคโนโลยี VoIP นั้น จริงๆ แล้วทุกๆ องค์กรสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้งานได้ แต่สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงและน่าจะได้รับประโยชน์จากการนำเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้งานมากที่สุด ได้แก่... กลุ่มธุรกิจขนาดย่อม หรือ SME (Small/Medium Enterprise) รวมถึงกลุ่ม ISP (Internet Service Provider) ต่างๆ สำหรับกลุ่มธุรกิจ SME อาจจะต้องเป็นกลุ่มที่มีระบบเครือข่ายข้อมูลของตนเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย Leased Line, Frame Relay, ISDN หรือแม้กระทั่งเครือข่าย E1/T1 ก็ตาม รวมถึงมีระบบตู้สาขาโทรศัพท์ในการใช้งานด้วย การนำเทคโนโลยี VoIP มาใช้งานนั้นจะทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานการสื่อสารสัญญาณเสียงไปได้อย่างมาก
2. VDO CONFERENCE บริการระบบการประชุมทางไกลที่รับส่งสัญญาณภาพและเสียง โดยผู้ใช้บริการอยู่ในสถานที่ต่างกัน สามารถติดต่อกันได้เสมือนประชุมอยู่ห้องเดียวกัน ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพ, เสียง และเอกสารของการประชุมได้พร้อมๆ กัน ทำให้สะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเดินทาง ไม่เสียเวลา ลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทาง บริการ Video Conference ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารประเภทต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL ISDN ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งเปรียบเหมือนมีการประชุมในห้องเดียวกัน จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในธุรกิจ ประหยัดต้นทุน ไม่เสียเวลาในการเดินทาง เพื่อตอบสนองรูปแบบการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ที่ต้องมีการแข่งขันกับเวลาและมีต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะองค์กรที่มีสาขาหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ
3. TRACKING GPS การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ระบบตำแหน่งหรือ GPS ประกอบกับซอฟต์แวร์แผนที่ ทำให้เจ้าหน้าที่ในศูนย์ควบคุม สามารถติดตามสถานะการส่งของรถแต่ละคันได้ในแบบ Real Time ขณะที่ลูกค้าเองก็สามารถตรวจสอบ ความคืบหน้าในการขนส่งว่าตอนนี้สิ้นค้าของตนเองเดินทางไปถึงไหนแล้ว รวมถึงสามารถบริหารเส้นทางการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ส่งสินค้าถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาและพลังงาน ในส่วนนี้สามารถนำ RFID มาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อตรวจสอบการขนส่งและประหยัดค่าใช้จ่ายได้
4. CCTV (CLOSE CERCUIT TELEVISION SYSTEM) ระบบกล้องวงจรปิดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ทำให้คุณสามารถดูภาพออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป โน้ตบุ๊ก พีดีเอ และอุปกรณ์มือถือต่างๆ ได้ทั่วโลก พร้อมเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่สามารถเก็บภาพวิดีโอได้นานตามความต้องการ มีให้เลือกใช้งานทั้งกล้องแบบใช้สายและกล้องไร้สาย สามารถเลือกบันทึกภาพได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเฉพาะช่วงเวลาที่กำหนด หรือช่วงเวลาที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น ด้วยระบบตรวจจับความเคลื่อนไหว ที่สามารถบันทึกภาพผู้บุกรุกได้ทันที และสามารถแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือพีดีเอโฟนได้ทันที ผ่านอีเมล์หรือ SMS ระบบโทรทัศน์วงจรปิดนี้ ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และความ สะดวก สบายให้แก่ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ เพราะสามารถดูภาพวิดีโอได้ในทุกสถานที่ทุกเวลา ทั้งภาพสด และค้นหาเพื่อดูภาพที่บันทึกไว้
5. COPERATE E1 แม้การเชื่อมต่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง แต่กับองค์กรที่ต้องการสายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและต้องการสายสื่อสารพิเศษ E1 ซึ่งมีความเร็วการสื่อสารข้อมูลทั้ง Upstream และ Downstream เท่ากันที่ 2 Mbps เพื่อรองรับการสามารถข้อมูลทั้งภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต
6. Burst Speed on Demand เป็นบริการเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตให้กับองค์กรของท่านในช่วงระยะเวลาหนึ่งในกรณี ที่ช่วงเวลานั้นๆมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมากทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกถึงความเร็วที่ลดลงและความไม่สะดวกในการใช้งาน โดยที่ท่านไม่ต้องการซื้อความเร็วของอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมแต่ต้องการเฉพาะช่วงเวลาเท่านั้น ซึ่งจะช่วยสามารถประหยัดค่าใช้ จ่ายและรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมากในช่วงเวลานั้นๆได้
7. Hotspot คือ บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง เพื่อทุกสไตล์ชีวิตออนไลน์เหนือระดับ ให้ผู้ใช้สามารถใช้เวลาทุกวินาทีอย่างเต็มที่ ไม่มีพลาดทุกความสนุก ความรู้ใหม่ๆ และโอกาสประสบความสำเร็จที่รออยู่ ในทุกวินาทีของชีวิต ด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่าผ่านการเชื่อมต่อไร้สายที่ได้มาตรฐาน IEEE 802.11b/g อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือ Intranet ภายในองค์กรได้ด้วยความเร็วที่สูงกว่าการเชื่อมต่อโมเด็มถึง 20 เท่า ด้วยเทคโนโลยี Virtual Private Network (VPN) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง Intranet ภายในองค์กรได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยเสมือนทำงานอยู่ในออฟฟิศ จึงไม่จำเป็นต้องลากสาย ติดตั้งคอมพิวเตอร์หรือติดตั้งซอฟท์แวร์ใหม่ VPN หรือ Virtual Private Network เป็นบริการการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN - Wide Area Network) เปรียบเสมือนเป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง มีการทำ Tunneling หรือการสร้างอุโมงค์เสมือนไว้รับส่งข้อมูล รวมทั้งมีระบบเข้ารหัสป้องกันการลักลอบใช้ข้อมูล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งต้องการความคล่องตัวในการติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างสาขา นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดหมายเลข IP เป็นเครือข่ายเดียวกัน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัตินอกบริษัทฯ ยังสามารถ login เข้ามาใช้เครือข่ายภายในองค์กรได้
8. ISP REDUNDANCY เป็นบริการที่เกิดจากการร่วมมือของ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความมีเสถียรภาพสูงสุด เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการใช้งานอินเทอร์เน็ตขององค์กร ในกรณีที่ช่องสัญญาณต่างประเทศของผู้ให้บริการรายหนึ่งไม่สามารถให้บริการได้ ท่านยังสามารถรับบริการจากช่องสัญญาต่างประเทศของผู้ให้บริการอีกรายหนึ่งได้ตามปกติ
9. Mail Buffer เป็นบริการเสริมที่ช่วยให้ผู้ใช้งานไม่พลาดการติดสื่อสารผ่านทางอีเมล์ โดยเป็นบริการสำรองการรับอีเมล์ชั่วคราว เสมือนเป็น Backup Mail Server ในกรณีเกิดปัญหาขึ้นกับเครือข่าย หรือ Server ของผู้ใช้ เช่น Link down หรือกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ทำให้ระบบเมล์ไม่สามารถรับอีเมล์จากภายนอกได้ ระบบ Mail Bufferจะทำการรับอีเมล์ของผู้ใช้งานโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จากนั้น เมื่อระบบเมล์ของผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ตามปรกติก็จะทำการส่งต่ออีเมลทั้งหมดที่ได้รับกลับไปยัง Mail Server ของผู้ใช้ โดยไม่กระทบกับการรับส่งอีเมล์ที่เป็นอยู่ บริการนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้หรือองค์กรที่มีการติดตั้ง Mail Server ภายในองค์กรของตนเอง หรือมีการติดตั้ง Mail Server ไว้ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider)
IPV6 (Internet Protocol version 6)
IPV6 กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ต โพรโตคอลได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุป กรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลใน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และ หากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้าง ของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ และความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล แพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน อนาคตได้เป็นอย่างดี
หมายเลข IPv6 มี 128 บิต ประกอบไปด้วย กลุ่มตัวเลข 8 กลุ่มเขียนขั้นด้วยเครื่องหมาย “:” โดยแต่ละกลุ่มคือเลขฐาน 16 จำนวน 4
ตัว (16 บิต) เช่น
3fee:085b:1f1f:0000:0000:0000:00a9:1234
0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0001
fec0:0000:0000:0000:0200:3cff:fec6:172e
2001:0000:0000:34fe:0000:0000:00ff:0321
ทั้งนี้สามารถเขียนย่อได้ โดยมีเงื่อนไขคือ
1. หากมีเลขศูนย์ด้านหน้าของกลุ่มใด สามารถจะละไว้ได้
2. หากกลุ่มใดเป็นเลขศูนย์ทั้ง 4 ตัว (0000) สามารถเขียนแทนด้วย “0”
3. หากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (หรือหลายกลุ่มที่ตำแหน่งติดกัน) เป็นเลขศูนย์ทั้งหมด สามารถจะละไว้ได้ โดยใช้เครื่องหมาย “::” แต่จะ
สามารถทำลักษณะนี้ได้ในตำแหน่งเดียวเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน หากใช้สองเงื่อนไขแรก เราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ข้างต้นได้ดังนี้
3fee:085b:1f1f:0:0:0:a9:1234
0:0:0:0:0:0:0:1
fec0:0:0:0:200:3cff:fec6:172e
2001:0:0:34fe:0:0:ff:321
หากใช้เงื่อนไขที่สาม เราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ข้างต้นได้ดังนี้
3fee:085b:1f1f::a9:1234
::1
fec0::200:3cff:fec6:172e
2001::34fe:0:0:ff:321
จะเห็นได้ว่าเราสามารถเขียนหมายเลข IPv6 ได้หลายวิธี โดยแต่ละวิธี มีความยาวแตกต่างกันไป ซึ่งบางครั้งหมายเลข IPv6 อาจมี หมายเลข IPv4 แทรกอยู่ ในกรณีนี้ เราสามารถเขียนในลักษณะที่คงสภาพหมายเลข IPv4 อยู่ได้ เช่น
0:0:0:0:0:0:192.168.1.1
0:0:0:0:0:ffff:192.168.1.1
สามารถเขียนย่อได้เป็น
::192.168.1.1
::ffff:192.168.1.1
ตัวเลข /48 หรือ /64 ที่อยู่หลังหมายเลข IPv6 นั้นหมายถึงความยาวในหน่วยบิตของหมายเลข prefix หมายเลข prefix มีไว้เพื่อระบุ หมายเลขของเครือข่าย หาก prefix มี 64 บิต แปลว่าที่เหลืออีก 64 บิต (128-64 = 64) เป็นหมายเลขที่ระบุอุปกรณ์แต่ละตัวในเครือข่ายนั้น (interface ID) ตัวอย่างเช่น
fec0:103:fe6d:1000::1/64 มี prefix คือ fec0:103:fe6d:1000:: และ interface ID คือ 1
fec0:103:fe6d:1000::2/64 มี prefix คือ fec0:103:fe6d:1000:: และ interface ID คือ 2
(แปลว่าอยู่ภายใต้เครือข่ายเดียวกับอุปกรณ์ตัวแรก)
fec0:103:fe6d:2000::1/48 มี prefix คือ fec0:103:fe6d:: และ interface ID คือ 2000::1
โดยทั่วไปหมายเลขชุด IPv6 ที่ได้รับแบ่งสรรจาก ISP มักจะมี prefix 48 บิต ส่วนที่เหลืออีก 80 บิต มักถูกแบ่งออกเป็นหมายเลข
subnet (subnet ID) 16 บิต และหมายเลขอุปกรณ์ (interface ID) 64 บิต ตัวอย่างเช่น 2001:260:20:1000::/64 และ 2001:260:20:2000::/64 อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน (เพราะมีเลข 48 บิตแรกเหมือนกัน—2001:260:20: แต่ต่าง subnet (subnet1000 และ subnet 2000)
หมายเหตุ: IPv6 address ที่ได้รับจัดสรรจาก 6Bone จะอยู่ในช่วง Prefix 3ffe::/16 เป็น IPv6 address ชั่วคราวสำหรับใช้งาน ในเครือข่ายทดสอบ (IPv6 testbed) เท่านั้น และจะต้องถูกเรียกคืนภายใน 6 มิถุนายน 2549 ซึ่งเป็นกำหนดการปิดตัวของเครือข่าย 6Bone ส่วน IPv6 address ที่ได้รับจัดสรรจาก APNIC จะเป็นหมายเลขทีสามารถนำไปให้บริการได้จริง
CDMA (Code Division Multiple Access)
เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารอีกประเภทหนึ่งที่มีให้บริการอย่างแพร่หลาย ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Qualcomm ระบบ CDMA จะทำงานโดยการแปลงคลื่นเสียงไปเป็นข้อมูลดิจิแบบตอล และถูกนำไปเข้ารหัสเฉพาะสำหรับการใช้งานในแต่ละครั้ง CDMA นั้นได้ถูกพัฒนาความสามารถให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปัจุบันที่เปิดให้ใช้งานอย่างเช่น CDMA One (IS-95A และ IS-95B), CDMA 2000 1x และ CDMA 2000 1xEV CDMA 2000 1x เป็นต้น CDMA นั้นสามารถรองรับฟังก์ชันการใช้งานโทรศัพท์ได้หลากหลาย และรองรับเครื่องลูกข่ายได้จำนวนมาก การรับส่งข้อมูลมีความเร็วสูงถึง 153 kbps ทำให้เทคโนโลยีCDMA สามารถใช้งานมัลติมีเดียได้สะดวกมากยิ่งขึ้น CDMA 2000 1xEV เป็นอีกเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาจาก CDMA 2000 1x เดิมโดยได้แบ่งออกเป็นสองแบบคือ CDMA 2000 1xEV-DO หรือ Data Optimized ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 2.4 Mbps และอีกแบบหนึ่งคือ CDMA 2000 1xEV-DV หรือ Data and Voice ซึ่งเป็นการพัฒนาให้รองรับทั้งการใช้งานเสียงและข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น
การรองรับจำนวนผู้ใช้งาน ระบบซีดีเอ็มเอ จะสามารถรองรับผู้ใช้บริการจำนวนมากกว่าระบบอื่นๆ หลายเท่าโดยไม่ต้องเพิ่มย่านความถี่ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น โดยใช้การเพิ่มความจุของย่านความถี่นั้น ๆ ทำให้สัญญาณหลุดน้อยลง ช่องสัญญาณว่างมากขึ้น และสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ระบบซีดีเอมเอ จะทำให้จำนวนผู้ใช้ในคลื่นความถี่ต่อเมกะเฮิรตซ์มากกว่า เทคโนโลยีของการสื่อสารระบบไร้สายเชิงพาณิชย์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบดิจิตอลหรืออนาล็อก อันที่จริงระบบซีดีเอ็มเอ มีประสิทธิภาพในการรองรับผู้ใช้ในคลื่นความถี่ มากกว่าระบบเซลลูล่าร์ในปัจจุบันประมาณ 10 ถึง 20 เท่า ด้วยการใช้ย่านความถี่ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าในการใช้แถบความถี่ขนาดกว้าง ในย่านความถี่คลื่นวิทยุ เพื่อส่งผ่านสัญญาณที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่บนทุกๆเซ็กเตอร์ของทุกๆ สถานีแม่ข่าย ด้วยสัญญาณพาหะของซีดีเอ็มเอ เพียงหนึ่งแบนด์
การครอบคลุมพื้นที่ เนื่องจากการติดตั้งเซลระบบซีดีเอ็มเอ ไม่จำเป็นต้องใช้สถานีจำนวนมากเหมือนกับ เทคโนโลยีกับระบบเครือข่ายดิจิตอลหรืออนาล็อกโดยทั่วไป จึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง รวมทั้งเงินลงทุนในการจัดหาสถานที่ตั้งสถานีเครือข่ายและการสร้างเครือข่ายลดลงอย่างมาก ยิ่งกว่านั้น ด้วยจำนวนสถานีในเครือข่ายที่น้อยลง จึงช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายไปได้อีกด้วย การใช้เทคนิคเฉพาะของระบบซีดีเอ็มเอ(เรียกว่าการรับสัญญาณแบบอาร์เอเคอี - RAKE) โดยรวบรวมสัญญาณจากทิศทางต่างๆ ที่เดินทางมาก็เพื่อเพิ่มการรับสัญญาณที่เข้มและหนาแน่นมากขึ้นเทคนิคนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ระบบซีดีเอ็มเอ สามารถขยายประสิทธิภาพการครอบคลุมของแต่ละเซลในขณะเดียวกันสามารถเลือกและรองรับสัญญาณที่รับได้ดีที่สุดมากถึง 3 ชุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ
ความสามารถในการขยายบริการ ระบบซีดีเอ็มเอ ใช้เทคโนโลยีที่สามารถรองรับ บริการเสริมพิเศษต่างๆ ได้มากมายเช่น บริการเลขหมายส่วนตัว (Personal Number Services) ระบบตรวจสอบการโจรกรรมข้อมู (Authentication) การเรียกสายตามคำสั่งเฉพาะ (Custom Calling Packages) โทรสารและข้อมูล (Fax and Data) และบริการฝากข้อความ (Shot Message Services) ชมภาพยนต์ผ่านมือถือ (Video Streaming) ดูรายการทีวีต่าง ๆ รวมทั้งติดตามข่าวสารในโลกใบนี้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กสท. สามารถเพิ่มรายได้ด้วยการเสนอบริการเสริมพิเศษ ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้สูงขึ้น และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าพร้อมทั้งเพิ่มเวลาในการใช้บริการให้นานขึ้นในขณะเดียวกันกับเพิ่มแรงจูงใจในการดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ให้เข้ามาใช้บริการ
ความปลอดภัย ผู้ใช้บริการจะพึงพอใจกับความปลอดภัยที่เหนือกว่าของระบบซีดีเอ็มเอโดยสามารถช่วยลดจำนวนผู้ลักลอบดักฟังหรือการนำหมายเลขไปใช้’งาน เนื่องจากเทคโนโลยีการกระจายคลื่นความถึ่ ทั่วย่านความถี่ของระบบซีดีเอ็มเอให้ความปลอดภัยสูง ผู้ที่ลักลอบดักฟังการสนทนาจะได้ยินแต่เสียงสัญญาณที่ไม่มีความหมายใดๆ ในการถอดรหัสของระบบซีดีเอ็มเอนั้นผู้ลักลอบดักฟังการสนทนาจะต้องแยกรหัสถึง 4 ล้านรหัสในช่วงเวลาการสนทนานั้นๆ
แหล่งอ้างอิง
http://settapong4.edublogs.org/
http://www.ipv6.nectec.or.th/faq.php#ans1
http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=commu
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=45d71a85f80d3b73
http://www.vcharkarn.com/varticle/4056
http://www.ipstar.com/th/tech_space.html
http://www.thaicert.nectec.or.th/paper/basic/home_networks.php
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4928057/1.html
CAT : http://web.ipv6.cattelecom.com/
Internet Thailand : http://www.v6.inet.co.th/
CS-Loxinfo : http://www.ipv6.loxinfo.net.th/
TRUE (AsiaInfonet) : http://www.v6.trueinternet.co.th/
NECTEC : http://www.ipv6.nectec.or.th/