Visit http://www.nesdb.go.th and post your comments online at the site. (webboard ,e-mail) and send your comment to me at prasopp@microsoft.com.
ความคิดเห็น:
จากวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฉบับที่ 11 ประเทศมีความมั่นคง เป็นธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
ผมเห็นด้วยกับแผนนโยบายฉบับนี้ เพราะการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องมีแผนงานและมีนโยบายที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นได้ จากวิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์ของแผนฉบับนี้ ดูเหมือนว่า เรากำลังกลับมาเริ่มให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์มากขึ้นโดยมุ่งให้คนเป็นจุดศูนย์กลาง อาจจะเป็นเพราะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน คนไทยยังตกอยู่ในช่วงของความขัดแย้ง สังคมยังอ่อนแอ มีความแตกแยกไม่สามัคคีกัน และยังมีอีกหลายคนที่คิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกัน ประเด็นสำคัญที่ทำให้คนในชาตินั้นเกิดความคิดแบบนี้ล้วนเกิดมาจากเรื่องปัญหาทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่ คงต้องเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องทำความเข้าใจกับคนที่มีความคิดแตกต่างกันเหล่านี้ให้เกิดความเข้าใจไปในทางที่ถูกพร้อมที่จะเดินไปด้วยกัน เพราะไม่เช่นนั้น ต่อให้เรามีแผนและวิสัยทัศน์รวมทั้งนโยบายที่ดีอย่างไรก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ มีแต่จะทำให้เกิดผลเสียลุกรามบานปลายต่อไปทั้งเรื่องเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม การพัฒนาประเทศไม่ไปถึงไหน เราทุกคนในฐานะที่เป็นคนไทยควรที่จะมองไปถึงอนาคต ทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวม และขอให้คิดว่า ไม่ว่าใครจะเป็นต้นเหตุของความวุ้นวายก็ตาม ขอให้เราหยุดทะเลาะกัน หันหน้ามาคุยกันดีกว่า เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ก่อนที่เราจะสูยเสียโอกาสไป ประเทศเราไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติอื่นเลย ขอให้เรามีความคิดที่ดี ปฏิบัติดี ประกอบกับแผนนโยบายที่ดี รับรองว่าเราไปรอดแน่นอน อีกประการที่สำคัญ ประเทศเราเองมีความพร้อมในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากร ภูมิประเทศ เทคโนโลยี นักวิชาการ และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่สิ่งที่เรายังไม่มีหรืออาจจะมีไม่พอคือความเป็นชาตินิยม ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เลยทำให้เราต้องสูญเสียโอกาสไป พอว่าจะดีกลับต้องมาเริ่มต้นกันใหม่อีกแล้ว เป็นอย่างนี้หลายครั้ง ทำให้เพื่อนบ้านเรา เขาแซงหน้ากันไปหมด ทั้งๆที่เราเองเคยเหนือกว่าประเทศเหล่านั้นด้วยซ้ำ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมอย่างมาก ธุรกิจออนไลน์กำลังได้รับความนิยมอีกครั้ง ธุรกิจต่างกำลังมุ่งอินเตอร์เน็ต สิ่งต่าง ๆเหล่านี้ล้วนเป็นพลังขับเคลื่อนให้ประเทศชาติพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด หวังว่าภาครัฐจะให้ความสำคัญและนำสิ่งเหล่านี้มาเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง ไม่ทำเพื่อคนใดคนหนึง ควรให้ความจริงใจในความคิด และพัฒนาประเทศอย่างโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ทุกระดับชัน ประชาชนจะได้มีความสุขกันอย่างทั่วถึงและพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ข้อ ในความคิดผม ทุกข้อล้วนมีความสำคัญ ภาครัฐได้มุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ก็น่าที่จะต้องเริ่มสร้างคนและสังคมให้มีโครงสร้างที่ดีมีความสมดุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นอยู่ การศึกษา เศรษฐกิจ และการเมือง และสิ่งแวดล้อม ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืนโดยเรียงลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนให้เหมาะสมตามช่วงอายุ
2. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางสังคมให้เป็นสังคมที่มั่นคง เป็นธรรม มีพลัง และเอื้ออาทร
3. ยุทธศาสตร์การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการผลิต การค้า และการลงทุนในประเทศ และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค
4. ยุทธศาสตร์การสร้างฐานการผลิตที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งและสมดุล
5. ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของพลังงานและอาหาร
6. ยุทธศาสตร์การเป็นเศรษฐกิจและสังคมสีเขียว
7. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของภาคและพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนให้เหมาะสมตามช่วงอายุ
ปัจุจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้าไปมาก ทั้งเครื่องมือการแพทย์และยารักษาโรค ทำให้คนเรามีอายุยืนมากขึ้น ส่งผลให้คนไทยมีผู้สูงอายุมากขึ้น บางท่านที่ยังมีความรู้และความสามารถก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งลูกหลาน ส่วนคนหนุ่มสาวที่มีหน้าที่เลี้ยงดู รัฐควรให้การสนับสนุนด้านภาษีมากขึ้น อย่างเช่นการนำเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดาไปลดหย่อนภาษีได้ ไม่เกินหมื่นห้า ในความเป็นจริงภาครัฐน่าจะให้สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมทั้งทุนคุ้มครองชีวิตทุกประเภท เพราะการทำประกันเป็นการวางแผนชีวิตที่ดีวิธีหนึ่งที่ไม่ต้องไปใช้งบประมาณของภาครัฐ ช่วยลดปัญหาสังคมทางอ้อม ถ้าภาครัฐสนับสนุนให้ประชาชนวางแผนสร้างหลักประกันให้กับครอบครัว รัฐก็จะได้ไม่ต้องเสียเงินงบประมาณมาสนับสนุนค่ารักษา ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น และสิงค์โปร์ คนในประเทศถือกรมธรรม์คนละหลายฉบับ เจ็บป่วยบริษัทเป็นคนจ่าย จากไปก็มีเงินให้ครอบครัวไม่ต้องเดือดร้อน ลูกหลานยังได้เรียนต่อจนจบ เป็นข้อดีของการวางแผนทางการเงินให้ครอบครัวด้วยการสร้างหลักประกันที่มั่นคง เมื่อครอบครัวไม่เดือดร้อน ถึงแม้ว่าจะขาดเสาหลักหรือคนใดคนหนึ่งไป คนที่อยู่ข้างหลังก็ไม่ลำบาก ปัญหาสังคมก็น้อยลง รัฐก็ไม่ต้องเสียเงิน เพราะฉนั้น ส่งเสริมให้เขาทำประกันเถอะครับ ไม่ต้องไปตัดภาษีลดหย่อนเขาหรอกครับ ยังไงรัฐก็ได้ประโยชน์อยู่แล้ว
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางสังคมให้เป็นสังคมที่มั่นคง เป็นธรรม มีพลัง และเอื้ออาทร
ยุทธศาสตร์นี้จะต่อเนื่องมาจากการพัฒนาคน เมื่อครอบครัวไม่เป็นปัญหา มีโครงสร้างทางสังคมที่ดีและมั่นคง ภาครัฐก็มีเวลาไปมุ้งเน้นแก้ปัญหาทางด้านอื่นไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ พลังงาน การค้า การต่างประเทศ และอื่น ๆ อีกที่รอแก้ปัญหาอยู่ และที่สำคัญจะทำให้ งบประมาณนั้นมีมากขึ้น ไม่ต้องขาดดุลอีกต่อไป ทำให้โครงการสำคัญต่าง ๆ เดินหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องโยกงบไปมา ให้วุ่นวาย ส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม
ยุทธศาสตร์การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการผลิต การค้า และการลงทุนในประเทศ และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค
ในยุทธศาสตร์นี้สิ่งที่ต้องเร่งทำคือการปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจและกฎ ระเบียบต่างๆ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการค้า การลงทุน อย่างเป็นธรรม และผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า ยกตัวอย่างที่ยังมีปัญหาอยู่คือ มาตรพุต ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น อีกสี่งหนึ่งที่มีความสำคัญคือ เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่กำลังเข้มข้น ในช่วงโค้งสุดท้าย ซึ่งก็มีทั้งที่เห็นด้วยและเห็นต่างออกไป ขอให้ทุกคนได้ร่วมกันติดตามกันต่อไปเพราะจะมีผลต่อการใช้ชีวิตเราโดยตรง อีกส่วนหนึ่งคือการสร้างเทคโนโลยี และนวัตกรรมให้ทั่วถึงและเพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพในลักษณะของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง ผลักดันการจัดทาความตกลงการค้าเสรี และเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้ว และ เร่งดาเนินการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์การสร้างฐานการผลิตที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งและสมดุล
เมื่อเรามีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ดี จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาภาคการผลิตทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ควบคู่กันไป
ในด้านการเกษตร ภาครัฐควรให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการใช้พันธุ์พืชและสัตว์ที่ดี มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เน้นการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม และส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายวิสาหกิจในการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป และการตลาด และสนับสนุนการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า ในภาคอุตสาหกรรม รัฐควรมีการร่วมมือกันเพื่อรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของภาคเอกชน และกำหนดทิศทางในการพัฒนาร่วมกัน มีความโปร่งใส ให้สังคมตรวจสอบได้
ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของพลังงานและอาหาร
ประเทศเรามีความได้เปรียบทางด้านนี้ คนส่วนใหญ่ภายในประเทศ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อนาคตพลังงานจะมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องใด ๆ ถ้าภาครัฐมีการวางแผนเตรียมพร้อมให้เราสามารถผลิตพลังงานทดแทนขึ้นใช้เองได้อย่างเพียงพอ ปัญหาที่จะตามมาก็จะลดน้อยลง เพราะน้ำมันที่เป็นพลังงานสำคัญกำลังจะหมดไปในอีกไม่กี่ปี นอกจากเรื่องพลังงานแล้วยังมีเรื่องของอาหารที่มีความสำคัญเช่นกัน
ยุทธศาสตร์การเป็นเศรษฐกิจและสังคมสีเขียว
ภาครัฐต้องส่งเสริมการผลิตสินค้าและบริการจากทรัพยากรชีวภาพที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับพฤติกรรมการบริโภคของสังคม สู่รูปแบบการบริโภคอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุ้มครองพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศและพื้นที่วิกฤตที่สาคัญ อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากร และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากการอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ
ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของภาคและพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของทุกภาคไปพร้อม ๆ กัน สนับสนุนการกระจายอำนาจการบริหารจัดการประเทศสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และเพิ่มบทบาทและประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัด
การสร้างความสมดุลและมั่นคงของพลังงานและอาหาร
ขอบคุณครับอาจารย์ สำหรับคำถามที่ถามเพิ่มเติม ในความคิดของผมเห็นว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยเราจะไม่มีบ่อน้ำมัน ไม่มีเหมืองทองที่เป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของประเทศ แต่เราก็มีความได้เปรียบในเรื่องของทรัพยากรทางการเกษตรโดยเฉพาะเรื่องของอาหารและพืชพลังงานทดแทน เรา มีภูมิปัญญาแบบไทย ๆ มีอากาศที่เหมาะสม มีขนบธรรมเนียมที่ดีงาม ถ้าเรามองกลับไป ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ล้วนมีความสามารถในการผลิตพืชผลทางเกษตร ทุกคนเคยปลูกอะไรเคยทำอะไร ก็ทำกันอยู่อย่างเดิมตามกำลังความรู้ความสามารถและภูมิปัญญาของตนที่สะสมกันมาไม่ได้เน้นวิชาการอะไรมากมาย สิ่งที่เกษตรกรอาจจะยังขาดไปน่าจะเป็นเรื่องของข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่นอกเหนือจากขั้นตอนการผลิต รวมทั้งยังขาดการวางแผนและการจัดการในเรื่องของการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้ผลผลิตที่ออกมานั้นอาจมีไม่เพียงพอและไม่สมดุลต่อการบริโภคและการส่งออกของประเทศ ส่งผลเสียต่อเกษตรกรและประเทศชาติ ภาครัฐจำเป็นต้องให้เกษตรกรได้รับข้อมูลสารที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้เกษตรกรตำบล เกษตรกรอำเภอมีบทบาทใกล้ชิดและเข้าถึงเกษตรกรมากขึ้น คอยให้คำปรึกษาให้ความรู้ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร ของแต่ละพื้นที่ เพื่อแรกเปลี่ยนประสบการณ์ และแก้ปัญหาร่วมกัน มีการจัดทำโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่โดยใช้โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นโครงการต้นแบบ ด้วยการส่งเสริมให้คนว่างงานที่ไม่มีที่ทำกินไม่มีเงินทุนหันมาประกอบอาชีพการเกษตรโดยมีการสนับสนุนในเรื่องที่ดิน เงินทุน และความรู้ มีการเขียนแผนการทำงานที่ชัดเจนว่าใครจะทำอะไร ผลิตอะไร สามารถติดตามและวัดผลได้ มีการเก็บสถิติและประเมินผลงานเพื่อสรุปผลที่ได้ ว่าควรจะให้มีการขยายโครงการและแผนงานหรือไม่ หรือควรมีการปรับปรุงในส่วนใดบ้างเพื่อให้เขาได้เดินหน้าต่อไปได้ สำหรับในระดับประเทศนั้นควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการทำการเกษตรในเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้นนำไอทีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการผลิต ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจมีการจัดโซนนิ่งที่เหมาะสมต่อการผลิตในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอาหารและพลังงาน เกษตรกรควรแสวงหาความชัดเจนว่าปัจจุบันกำลังการผลิตภายในประเทศและการส่งออกเพียงพอหรือยัง ทิศทางของโลกกำลังเดินไปในทางไหน ภาครัฐมีการส่งเสริมในด้านใดบ้าง การผลิตโดยรวมควรมุ่งเน้นให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก มีการสร้างมูลค่าเพิ่มและแปรรูปผลผลิตให้มีคุณค่ามากขึ้น มีการขยายพื้นที่กำลังการผลิตให้เพียงพอและมีความสมดุล เรามีพื้นที่ว่างเปล่าอีกมากมายที่ปล่อยรกร้างไม่ได้ทำประโยชน์ ควรจัดสรรให้กับประชาชนในพื้นที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเกษตรกร แต่ควรเป็นคนในพื้นที่ ที่เขาไม่มีที่ดินทำกินตรวจสอบแล้วไม่เป็นตัวแทนของใครให้นำไปทำการเกษตรเท่านั้น ถ้าไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก็ควรจะขอพื้นที่คืนกลับมาเป็นของรัฐ เป็นการนำสิ่งที่เรามีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์นั่นเอง สำหรับโครงการอื่น ๆ ที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์อย่างเช่น โครงการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลกเป็นโครงการตัวอย่างที่ดี รัฐควรจะมีการส่งเสริมให้ทำโครงการนี้อย่างต่อเนื่องโดยการขยายเป้าหมายให้ดียิ่งขึ้นต่อไปเพื่อให้ต่างชาติได้รู้จักอาหารไทยมากขึ้น สำหรับโครงการพลังงานทดแทนเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ภาครัฐน่าจะส่งเสริมให้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากมีผลดีต่อเกษตรกรและประเทศชาติโดยตรง สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราขาดดุลทางการค้าคือเรื่องของน้ำมัน ถึงแม้ว่าเรามีก๊าซธรรมชาติแต่คาดการณ์ว่าไม่นานก็คงจะหมดและไม่เพียงพอเหมือนกับน้ำมัน ในฐานะที่เราเป็นเมืองเกษตรกรรม ผมก็อยากเห็นคนไทยใช้เครื่องยนต์พลังงานสะอาดร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นมาจากการผลิตภายในประเทศ ส่วนอีกหลายโครงการเป็นโครงการที่ดี แต่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อาจจะติดเรื่องผลประโยชน์และข้อเรียกร้องต่าง ๆ อย่างเช่นโครงการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง โครงการนำขยะมาเป็นพลังงานทดแทน และโครงการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ ๆ เป็นต้น
โดยสรุปแล้วผมเห็นว่าควรจะส่งเสริมให้มีการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีการนำเอาภูมิปัญญาดั้งเดิมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง จนเกิดผลผลิตที่มีความสมดุลและเพียงพอต่อการบริโภคและการส่งออก ภาครัฐควรนำโครงการที่ดีอยู่แล้วมาใช้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงทรัพยากร แหล่งเงินทุน และความรู้อย่างทั่วถึง