Visit http://ict2020.in.th/ and post your comments online at the site
จากแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2 ) ผมเห็นด้วยกับวิสัยทัศน์ของกระทรวงไอซีที ที่กำลัง จะทำให้ ประเทศไทยกลายเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) เป็นประเทศที่มีความฉลาดรอบรู้โดยใช้ ไอซีทีเป็นตัวขับเคลื่อนให้เป็นไปตามแผนที่ได้จัดทำขึ้น ถึงแม้ว่าดูแล้วหนทางจะยังอีกยาวไกลกว่าที่เรา จะก้าวไปถึงจุดนั้น แต่ก็ถือว่าเรามาถูกทางซึ่งได้มีการเริ่มต้นไปแล้ว แผนฉบับที่ 1 เป็นก้าวแรกในการพัฒนาซึ่งอาจจะมีบางโครงการ ที่ไม่ประสบความสำเร็จและยังไม่สามารถทำให้โครงการเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงกันต่อไป เราในฐานะที่เป็นคนไทย ควรที่จะมีส่วนร่วม และช่วยกันผลักดันให้โครงการต่าง ๆ ประสบความสำเร็จ พัฒนาก้าวไปให้ถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ ในฉบับที่ 2 นี้ ถ้าดูจากวัตถุประสงค์ที่เขียนเอาไว้ หัวใจสำคัญน่าจะอยู่ที่ การมุ่งเน้นพัฒนาประชาชนคนไทยให้มีความรู้ความสามารถ (Knowledge Society ) และสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในหน่วยงานของภาครัฐ ( e-Governance) โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นตัวขับเคลื่อน ร่วมกับยุทธศาสตร์ที่ 2 คือการบริหารจัดการด้วยระบบ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล ( National ICT Governance) สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 2 ในเรื่องของการจัดตั้งคณะทำงาน มีความคิดเห็นว่า การจัดตั้งหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการดำเนินการต่าง ๆ ควรจะตั้งให้เป็นองค์กรอิสระ มาจากคนที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ มีวิสัยทัศน์และเข้าใจเทคโนโลยี มีอิสระในการทำงานและตัดสินใจในขอบเขตของความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย อย่างเช่นนักวิชาด้าน ICT จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในส่วนของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการใช้ยุทธศาสตร์ ที่ 1 ร่วมกับยุทธศาสตร์ที่ 3 ในการพัฒนาบุคลากรทางด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์ การผลิตอย่างถูกวิธี รวมทั้งการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ( Information Literacy) ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 3 นั้นคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นเครือข่ายความเร็วสูง เหมือนกับการสร้างทางด่วนสายต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร และปริมนฑลใกล้เคียง ถ้าตามต่างจังหวัดก็จะเป็นมอเตอร์เวย์ที่เปิดให้บริการวิ่งข้ามจังหวัดกันได้ สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 3 ที่นำมาใช้ในการขับเคลื่อนนี้ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จ ผมมีความคิดเห็นว่า ต้องไม่ให้คิดค่าบริการที่แพงจนเกินไป ในแผนเขียนเกี่ยวกับการคิดค่าบริการเอาไว้ว่า “มีการคิดค่าบริการอย่างเป็นธรรม” ในปัจจุบันผมขอยกตัวอย่าง การใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 4 mbps เสียค่าบริการ 590 บาท รวมค่าเช่าเบอร์ กับภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ใช้ต้องจ่ายค่าบริการประมาณ 700 กว่าบาท ถือว่าสูงนะครับสำหรับคนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง การที่ต้องเสียค่าบริการที่สูงเกินไป ผมคิดว่าน่าจะเป็นอุปสรรค์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้ ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่อยากเข้าใช้บริการ สำหรับในยุทธศาสตร์ที่ 5 และ 6 จะเกี่ยวกับภาครัฐและเอกชน ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการบริการของส่วนภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่
สรุปยุทธศาสตร์ทั้ง 6 เป้าหมายและแผนงานที่สำคัญภายใต้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (ระหว่างพ.ศ. 2552-2556 ) ประกอบไปด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ( Information Literacy)
เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
• เพิ่มกำลังคนด้าน ICT
• ยกระดับมาตรฐานความรู้ความสามารถของบุคลากรด้าน ICT
• เพิ่มความสามารถในการเข้าถึง ICT และการใช้ประโยชน์จาก ICT ของประชาชน
แผนงานที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• ปรับปรุงรูปแบบ/วิธีการในการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
• เพิ่มปริมาณและคุณภาพของบุคลากรที่มีทักษะสูง ( high skilled professionals)
• พัฒนาความรู้และทักษะด้าน ICT แก่บุคลากรภาครัฐ เอกชนและประชาชนทั่วไป
โครงการที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• โครงการผลักดันการทำสหกิจศึกษา และ Finishing School เพื่อพัฒนาบุคลากร ที่มีความรู้และทักษะสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม ICT
• โครงการส่งเสริมการผลิตบุคลากรระดับปริญญาโท สายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และวิทยาการซอฟต์แวร์
• โครงการจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางด้าน ICT เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูง
• โครงการสนับสนุนให้บุคลากรนักพัฒนาของไทยเข้าร่วมโครงการระดับโลก
• โครงจัดตั้งสถาบัน e-Government สำหรับการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน ICT ให้แก่บุคลากรภาครัฐ
• โครงการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ICT ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการระบบ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล ( National ICT Governance)
เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
• จัดตั้งหน่วยงานกลางด้าน ICT เพื่อผลักดันวาระแห่งชาติด้าน ICT
• มีการปรับปรุงกฏหมาย กฏระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อเอื้อต่อการใช้ ICT และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
• มีกระบวนการจัดสรรงบประมาณโครงการด้าน ICT ภาครัฐที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แผนงานที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและการจัดการ ICT ระดับชาติ
• ปรับปรุงกระบวนการจัดทำ/เสนองบประมาณ และกระบวนการพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้าน ICT เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า
โครงการที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• โครงการจัดตั้งหน่วยงานในการทำหน้าที่ผลักดันวาระด้าน ICT จัดทำนโยบายและแผนเพื่อการพัฒนา ICT ตลอดจนกำกับดูแลการผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติ รวมถึงการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
• โครงการจัดตั้งสภา ICT
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
• ปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แผนงานที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• ขยายประเภทบริการ เพิ่มพื้นที่ให้บริการ และปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงข่ายโทรคมนาคม
• เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงข่ายและทรัพยากร
โครงการที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• โครงการศึกษาแนวทางการทำให้สัญญาร่วมการงานที่มีอยู่สิ้นผลโดยเร็วเพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมอย่างแท้จริงในธุรกิจโทรคมนาคม
• โครงการพัฒนาเมือง 100% Broadband – กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ฯลฯ โดย มีแนวทางในการทำงานแบบ PPP หรือ มีกลไกการทำงานผ่าน BOI
• โครงการจัดทำฐานข้อมูลโครงข่ายหลัก เพื่อวิเคราะห์ความสามารถของโครงข่ายและความต้องการใช้ข้อมูลข่าวสาร โดยเน้นความร่วมมือจากภาคเอกชนผ่านกลไกองค์กรกำกับดูแลกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมตามกฏหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ ( e-Governance)
เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
• ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะผ่านบริการออนไลน์ที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบจากมาตรฐานเปิด (Open Standard)
แผนงานที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• สร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
• ให้ทุกกระทรวงดำเนินการเพื่อพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT (ICT Industry Competitiveness) เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
• เพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT ของภาคเอกชน โดยการเพิ่มมูลค่าตลาดและการส่งออกของผู้ประกอบการด้าน ICT ภาคเอกชน
แผนงานที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• สนับสนุนด้านเงินทุน /เงินช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่
• ยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ ICT ไทยสู่ระดับสากล
• สร้างโอกาสทางการตลาดและโอกาสในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการไทย ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โครงการที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• โครงการศึกษาแนวทาง/มาตรการทางภาษี/มาตรการจูงใจ SME ให้ลงทุนใน SME
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ( ICT for Sustainable Competitiveness)
เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
• ส่งเสริมการใช้ ICT ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการประกอบกิจการของหน่วยงานเอกชน
แผนงานที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
• สร้างความตระหนักและพัฒนาขีดความสามารถด้าน ICT ของผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ โดยการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมหรือใช้กลไกความร่วมมือกับภาคเอกชนในรูปของ PPP
• พัฒนาและบริหารจัดการระบบ logistics ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
• ส่งเสริมการนำ ICT มาใช้ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศและไทยมีความได้เปรียบ โดยเฉพาะการเกษตร การบริการด้านสุขภาพ และการท่องเที่ยว
บรรณานุกรม
http://ict2020.in.th/
http://www.uih.co.th
http://www.rsu-cyberu.com/msitm/index.php