วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คลื่นความถี่ 3.9G ที่ประเทศไทย
3.9 G คืออะไร หลายท่านอาจจะงง เพราะไม่คุ้นกับตัวเลขนี้เลย ส่วนใหญ่ที่เคยได้ยินก็มีแต่ 2G-3G และถ้าใครได้ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีอยู่เป็นประจำ ก็คงจะรู้จักคำว่า 4G กันบ้างแล้ว ผมเองก็สงสัยว่าทำไมมันต้องเป็น 3.9G จึงได้พยายามหาข้อมูลและนำมาให้ท่านผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับเจ้าเทคโนโลยีตัวนี้กัน เพราะมันเป็นเทคโนโลยีที่เราคนไทยกำลังจะได้ใช้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเราจะได้ใช้เทคโนโลยีอะไรใครจะได้รับ License ในการประมูลบ้าง ต้องบอกว่าคนไทยรอคอยกันมาเป็นเวลานานพอสมควร ประเทศอื่นเขากำลังจะได้ใช้ 4G กันแล้วครับ ในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภคที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย เลยอยากให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักและศึกษาหาข้อมูลในเรื่องนี้ เราจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์กันอย่างเต็มที่ ว่าแล้วก็ไปกันเลยดีกว่าครับ
รูปที่ 1 IMT2000 Terrestrial Radio Interfaces

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ 3G กันก่อน
3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า เป็นโทรศัพท์ที่ให้บริการแบบเคลื่อนที่ (Mobile Service ) และไม่เคลื่อนที่ (Fix Service) ทั้งทางด้าน ภาพ เสียง ข้อมูล และ อินเทอร์เน็ต (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ 3.9G นั้นเป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เหมือนอย่างที่เราเรียก GPRS ว่า 2.5G และ HSDPA ว่า 3.5G ถ้าถาม ITU ผู้กำหนด มาตรฐานทางโทรคมนาคมตอนนี้เห็นจะมีเพียง1G, 2G, 3Gเท่านั้นที่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ ส่วน4Gกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อรับรองเทคโนโลยี ปี 2007 มีการรวมมาตรฐาน IP-OFDMA (IEEE 802.16 หรือ WiMAX) เข้าไป ใน IMT-2000 ด้วยทำให้ WiMAX เป็นเทคโนโลยี 3G ด้วยเช่นกันในค่ายของ GSM นั้นการที่จะพัฒนาไป 3G หนีไม่พ้นเทคโนโลยี UMTS ซึ่งใช้ air interface เป็น WCDMA (UMTS เป็นชื่อของระบบใหญ่โดยมีเทคโนโลยีที่ใช้รับ-ส่งสัญญาณผ่านอากาศ เรียกว่า WCDMA) เรามักเรียก WCDMA ว่าเป็น 3G และมีเทคโนโลยีต่อยอดเช่น HSDPA (3.5G) และ HSUPA (3.75G) หรือเรียกรวมว่า HSPA เมื่อจะพัฒนาต่อไปให้ได้ความเร็ว ในการรับ-ส่งข้อมูลสูงขึ้นมีการเสนอให้เปลี่ยนจากเทคโนโลยีพื้นฐานจาก CDMA มาเป็น OFDMA ซึ่งก็ ได้ออกมาเป็นเทคโนโลยีLTE (3.9G) โดยในระยะหลังมักมีคนเอา LTE มาโฆษณาว่าเป็น เทคโนโลยี 4G ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ถูกต้อง ในระหว่างที่ LTE ออกมานั้น HSPA ก็ยังคงพัฒนาต่อไป เรียกว่า HSPA+ มีข้อดีคือสามารถอัพเกรดมาเป็น HSPA+ ง่ายกว่าและถูกกว่า LTE แต่ ประสิทธิภาพไม่ได้เหนือไปกว่า LTE บางที HSPA+ ก็ถูกเรียกว่า 3.8G หรือไม่ก็ 3.85G (เนื่องจากมีหลายเวอร์ชั่นและเพื่อไม่ให้ตัวเลขสูงกว่า 3.9G ของ LTE) โดยทั่วไปแล้วไม่ค่อยมีคน เรียก 3.8G/3.85G แต่จะเรียก HSPA+ ตรงๆ ไปเลย ปี 2008 ITU ประกาศรายละเอียดมาตรฐาน 4G ในชื่อของ IMT-Advanced โดยคร่าวๆสามารถ รองรับความเร็วการดาวน์โหลดที่ 1 Gbps เมื่ออยู่กับที่ และ 100 Mbps เมื่อเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จะเห็นว่าข้อกำหนดดังกล่าวหินจริงๆและแน่นอนว่ายังไม่มีเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถรองรับได้ เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาไปสู่ 4G มีอยู่ 2 ค่ายคือ LTE-Advanced และ WiMAX IEEE 802.16m (HSPA+)

มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลก ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย -โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการ โทรศัพท์ เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิดให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป

รูปที่ 2 Technology Evolution Paths

วิวัฒนาการของ HSPA (HSPA+) (High Speed Packet Access) จาก HSDPA & HSUPA
เริ่มต้นที่ HSDPA เป็นเทคโนโลยีซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพข้อมูลใน downlink ให้แก่โอปเปอเรเตอร์บรอดแบนด์ไร้สาย และก่อให้เกิดการให้บริการข้อมูลยุคหน้า ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยโอปเปอเรเตอร์ทั่วโลกผนวก กับประสิทธิภาพข้อมูลสูงใน downlink ด้วยอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดกับความจุระบบที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพ latency ต่ำที่เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการเชื่อมต่อกับงบประมาณที่ดีขึ้นและพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้น รวมทั้งศักยภาพประสิทธิภาพสูงของเซลล์
- HSDPA สนับสนุนการผสมผสานคำสั่งเร็วกว่าซึ่งรวมถึง QPSK & 16QAM. 16-QAM ที่เพิ่มความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ขณะที่ QPSK มีให้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้
- HSDPA ใช้อัตราการใส่รหัสของ R = 1/3 ถึง R =1 การยึดหลักบนการรับส่งสัญญาณและสภาพแวดล้อมของช่องสัญญาณ ผู้ใช้ HSDPA ถูกจัดสรรการผสมผสานและแผนการใส่รหัสที่เหมาะสม เพื่อที่จะขยายอัตราการรับส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด กระบวนการของการเลือกสรร การปรับปรุงผสมผสานและอัตราการความเร็วในการใส่รหัสให้เร็วที่สุดถูกใช้ เพื่อเป็นการปรับปรุงการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น
- HSUPA High Speed Uplink Packet Access
HSUPA เป็นโหมดมาตรฐานใน Release 6 ที่ขยายคุณประโยชน์ของ HSDPA สู่ Uplink HSUPAแนะนำช่องสัญญาณทางกายภาพใหม่ที่เรียกว่า Enhanced Dedicated Channel (E-DCH) ซึ่งสำคัญในการก่อให้เกิดชุดของการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ uplink สูงสุด HSUPA รวบรวมความคิดและหลักการที่คล้ายคลึงใน HSDPA ดังต่อไปนี้:
• Fast Uplink Scheduling
• Fast and efficient retransmissions using Hybrid ARQ Uplink
• Shorter TTI frames for Uplink
โหมด ใหม่นี้เพื่อ uplink จะได้บรรลุในการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากของข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ลด latency และเพิ่มประสิทธิภาพของสเปคตรัม ทำให้ HSUPA ต้องการเพียงการเปลี่ยนชั้น PHY และ MAC เป็น Node Bs และ การเปลี่ยนชั้น MAC เป็น RNCs เท่านั้น
โหมด HSUPA จะทำให้อัตรารับส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 5.76 Mbps และเกือบจะสองเท่าของความจุ uplink cell ลด latency ได้สูงถึง 85% ตามระบบของ Release 99 และประสบความสำเร็จอย่างมากในการปรับปรุงอัตราความเร็วข้อมูลของผู้ใช้ เทคนิคเพิ่มเติม HSUPA ซึ่งถูกกำหนดเป็น HSPA ได้ให้การสนับสนุนที่ดีกว่าสำหรับแอพพลิเคชั่นที่ไวต่อการดีเลย์ อาทิเช่น VoIP, Video telephony และแอพพลิเคชั่นเกมมากมาย HSPA ได้เพิ่มประสบการณ์ที่ดีอย่างมากแก่ผู้ใช้ในการใช้ uplink และแอพพลิเคชั่นต่างๆ อาทิเช่น การส่งไฟล์งานและการส่งวีดีโอและรูปภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพใหม่ใน uplink ของเทคโนโลยี HSUPA ที่ใช้งบประมาณลดลงรวมทั้งการเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณทั้งในเมืองและ ชนบทด้วยขนาดของเซลล์ที่ใหญ่ขึ้น HSPA+ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการอักขั้นหนึ่งของเทคโนโลยี HSPA เพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากของ Rel 6 HSPA ในการรับส่งผ่านแบนด์วิดธิ์ 5 MHz ฟีเจอร์ของ HSPA+ เป็นมาตรฐานของ รุ่น 3GPP 7 และ8 HSPA+ เป็นวิวัฒนาการโดยตรงของ HSPA Release 6 กับโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายในปัจจุบัน HSPA+ ทำให้การทำงานตรงเวลาและประหยัดต้นทุน ด้วยการยกระดับทรัพยากรสเปคตรัมและเครือข่ายที่มีอยู่ด้วยประสิทธิภาพที่ดี ที่สุดของคลื่น 5 MHz HSPA+ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับเครือข่ายและอุปกรณ์ที่มีอยู่ของ R99/R5/R6 หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของ HSPA+ คือการช่วยให้โอปเปอเรเตอร์สามารถพัฒนาสินทรัพย์ที่มีอยู่ ((cell sites, RAN และเครือข่ายหลัก) และการใช้ในพื้นที่ที่เลือกสรรแล้วว่ามีความต้องการใช้เสียงและข้อมูลสูง HSPA+ จะยังช่วยโอปเปอเรเตอร์ในการเพิ่มการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายที่เร็วขึ้น แก่ตลาดด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

รูปที่ 3 วิวัฒนาการคลื่นความถี่ของแต่ละยุค

จากรูปที่ 3 เป็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยีคลื่นความถึ่ในยุคต่าง ๆ เริ่มจาก 1G เป็นโทรศัพท์ในยุคแรก คือระบบอนาล็อก เริ่มแพร่หลายราวปี 1980s ที่รู้จักกันดีคือ เทคโนโลยี NMT จากฝั่งยุโรปและ AMPS จากฝั่งอเมริกา  จีเอสเอ็ม (GSM ย่อมาจาก Global System for Mobile Communications ในชื่อเดิมว่า Groupe Spécial Mobile) เป็นมาตรฐานของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 80% ของมือถือทั่วโลก[ ประเทศจีนมีผู้ใช้งานเป็นอันดับหนึ่งของโลก มากกว่า 370ล้านคน ตามด้วยประเทศรัสเซีย 145ล้านคน, อินเดีย 83ล้านคน และสหรัฐอเมริกาถึง 78ล้านคน GSM เป็นมาตรฐานเปิดภายใต้การดูแลของ 3GPP GSM ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับช่องสัญญาณควบคุมและสัญญาณเสียงแบบ TDMA ซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือก่อนหน้านั้น จึงถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือในยุคที่สอง หรือ 2Gซึ่งหมายถึง การพัฒนาระบบขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งการพัฒนาอย่างแพร่หลายของ GSM เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
จีพีอาร์เอส หรือ GPRS เป็นตัวย่อ ของ General Packet Radio Service เป็นบริการส่งข้อมูลสำหรับโทรศัพท์มือถือแบบ GSM โดย GPRS มักถูกเรียกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือยุค 2.5G ซึ่งอยู่ระหว่าง 2G และ 3G ทางเทคนิคแล้ว GPRS ใช้ช่องสัญญาณแบบ TDMA ของเครือข่าย GSM ในการส่งข้อมูล ในทางทฤษฎีแล้ว ความเร็วสูงสุดของ GPRS อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลบิตต่อวินาที เอดจ์ (อังกฤษ: Enhanced Data rates for GSM Evolution: EDGE) หรือ อีจีพีอาร์เอส (อังกฤษ: Enhanced GPRS: EGPRS) เป็นระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย 2.75G ในเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดย ITU (International Telecommunications Union) คล้ายกับระบบจีพีอาร์เอส แต่มีความเร็วที่สูงกว่าคือที่ประมาณ 200-300 Kbps ซึ่งสูงกว่าจีพีอาร์เอสสี่เท่า แต่ในบางพื้นที่ถ้าหากใช้เอดจ์ไม่ได้ โทรศัพท์ก็จะเปลี่ยนไปใช้จีพีอาร์เอสเอง ช่วยให้การรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือได้มากกว่าและรวดเร็วกว่า ทั้งการเข้า WAP และ WEB รับส่ง MMS, Video/Audio Streaming และ Interactive Gaming และเป็นก้าวสำคัญเพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค 3G แอลทีอี (LTE - Long Term Evolution) หรือ 3.9G เป็นชื่อโครงการของระบบสื่อสารโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถือเป็นก้าวสุดท้ายก่อนจะพัฒนาเป็น 4G โดยมีเป้าหมายในการออกแบบให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากขึ้นและเร็วขึ้น LTE เป็นหนึ่งมาตรฐานจากกลุ่ม the Third Generation Partnership Project(3GPP) เพื่อกำหนดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความ เร็วสูงบนระบบโมบายไปสู่ระบบโมบายยุคต่อไปที่อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ 4 (4G) ทางเทคนิค LTE ถูกสร้างอยู่บนพื้นฐานของ GSM, GPRS,EDGE และ WCDMAรวมถึง HSPA อีกด้วยจึงเป็นการวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงและ Latency ที่ต่ำลง(เพื่อให้บริการที่มีลักษณะ delay sensitive services) นอกจากในมุมของผู้ให้บริการที่จะได้ใช้บริการที่หลากหลายมีสีสันมากขึ้น แล้วยังเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ช่องความถี่ที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
รูป ที่ 4 Uplink Speed

LTE ได้มีการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเทคโนโลยี นอกจากจะเป็นเทคนิคใหม่ในส่วนสื่อสารไร้สาย (ระหว่างมือถือกับสถานีฐาน) แล้วยังมีการ ปรับปรุงส่วนโครงข่ายหลักที่เดิมผสมกันระหว่าง packet และ circuit switched networks ให้กลายมาเป็น all-IP เพียงอย่างเดียวการพัฒนา นี้ช่วยลดต้นทุนของโอเปอเรเตอร์สำหรับการให้บริการที่หลากหลายทั้งเสียงวีดิโอดาต้าและยังทำให้การเชื่อมต่อกับโครงข่ายเดิมง่าย ขึ้นอีกด้วย โดยภาพต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบโครงสร้างภาพรวมระหว่างUMTSกับLTE
รูปที่ 5 UMTS and LTE architecture

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มในเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา

การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice
ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาอันเป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี 2.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีการผลักดันบริการสื่อสารข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ในรูปแบบ Non-Voice เพื่อสร้างกระแสนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 2.5G อย่างเต็มรูปแบบ หรือเป็นการผลักดันให้เกิดการยอมรับในบริการที่มีอยู่แล้ว อันได้แก่บริการ SMS ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่าบริการเหล่านี้ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่เพิ่มมูลค่าให้บริการ ARPU ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่  ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G แม้จะสามารถรองรับการสื่อสารประเภท Non-Voice ได้ แต่ก็ไม่อาจสร้างบริการประเภท Killer Application ที่ผลิกผันรูปแบบการให้บริการได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากสถาการณ์การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่แม้จะมีการเติบโตอย่างชัดเจนในตลาดประเภท Non-Voice แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็จะพบว่าบริการที่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ล้วนเป็นบริการประเภท SMS และ EMS ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดรูปภาพหรือเสียงเรียกเข้า รวมถึงการเล่นเกมส์ตอบปัญหาหรือส่งผลโหวตที่ปรากฏอยู่ตามสื่อชนิดต่าง ๆ ซึ่งบริการเหล่านี้ล้วนเป็นบริการพื้นฐานในเครือข่าย 2G ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิตรซ์ , 1800 เมกะเฮิตรซ์ หรือ 1900 เมกะเฮิตรซ์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการ จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA นอกจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีฐาน (Base Station Subsystem) จากยุค 2G ซึ่งใช้เทคโนโลยี TDMA เป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเกตเพื่อความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่สำหรับให้บริการทั้งแบบ Voice และ Non-Voice อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้บริการ (End User Perception) ถึงความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล และยังคงรักษาคุณภาพของการสนทนาที่เหนือกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังมีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ เมื่อทำการเปรียบเทียบเฉพาะด้านของอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูล จะเห็นว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายยุคใน ตระกูล
2G/2.5G/2.75G  ได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล บริการในลักษณะนี้จะกลายเป็น จุดขาย สำคัญประการหนึ่งของมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G ทั้งนี้เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ล้วนรองรับบริการ Video Telephony แล้วทั้งสิ้น จึงสามารถเปิดให้บริการดังกล่าวได้ในทันทีกล่าวโดยสรุป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA มีแนวโน้มของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G จนถึง 2.75G นั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรูปแบบของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อตอบสนองรูปแบบการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้ผลักดันบริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ UMTS Forum ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมาตรฐาน W-CDMA ซึ่งจะนำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการดังนี้ (เอกสาร Why the world has chosen W-CDMA : 24 September 2003)
1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice ในแง่ของผู้ใช้บริการจะรับรู้ได้ว่าคุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะรับรู้ถึงอัตราเร็วในการสื่อสารที่สูงกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาก อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเครือข่าย และใช้ย่านความถี่ที่สูงขึ้น
2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐาน GSM ทำให้ผู้ให้บริการ 3G สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เข้าหากันได้ถึงขั้นอนุญาตให้มีการใช้งานข้ามเครือข่าย (Roaming) เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในเครือข่ายยุค 2G นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานข้ามเครือข่ายกับมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้ในทันที โดยผู้ใช้บริการเพียงมีอุปกรณ์สื่อสารแบบ Dual Mode เท่านั้น ทำให้เกิดลู่ทางในการสร้างเครือข่าย W-CDMA เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเครือข่ายรายอื่นได้ร่วมเข้าใช้บริการ ในลักษณะของ Mobile Virtual Network Operator (MVNO) เป็นรายได้ที่สำคัญนอกเหนือจากการให้บริการ 3G กับผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภายในเครือข่าย
3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลก ที่จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว จึงเป็นการรับประกันถึงพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ การเร่งเปิดให้บริการ 3G จึงเปรียบได้กับการเร่งเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในอดีต
4. พิจารณาเฉพาะการให้บริการแบบ Voice จะเห็นว่าการลงทุนสร้างเครือข่าย W-CDMA มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเครือข่าย GSM ถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมาตรฐาน W-CDMA มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ผู้ประกอบสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรความถี่เพื่อรองรับ Voice และ Non-Voice ได้อย่างผสมผสาน ต่างจากการกำหนดทรัพยากรตายตัวในกรณีของเทคโนโลยี GSM
5. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ให้บริการที่กว้างใหญ่ ไปพร้อม ๆ กับความสะดวกในการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการรองรับข้อมูลข่าวสาร ต่างจากเครือข่าย 2G โดยทั่วไปที่ปัจจุบันเริ่มประสบกับปัญหาการจัดสรรความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเครือข่าย เนื่องจากเป็นระบบแบบแถบความถี่แคบ (Narrow Band)
6. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมหรือบริการพิเศษต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ทำการพัฒนาสร้างบริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย โดยใช้ทักษะความสามารถและความชำนาญที่มีอยู่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดบริการประเภท Non-Voice ได้สารพัดรูปแบบ
7. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในรองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราเร็วสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงมากถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่สามารถพัฒนาให้รองรับการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าเทคโนโลยี EDGE ในปัจจุบัน ซึ่งรองรับข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที และในความเป็นจริงก็ไม่สามารถเปิดให้บริการด้วยอัตราเร็วถึงระดับดังกล่าวได้ เนื่องจากจะทำให้สถานีไม่สามารถรองรับบริการ Voice ได้อีกต่อไป
8. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN (IEEE802.11b/g) หรือ WiMAX (IEEE802.16d/e/e+) ทำให้ผู้ใช้บริการเครือข่ายไร้สายสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในเครือข่ายใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมทางภูมิประเทศ โดยยังคงได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการเครือข่าย 3G
ความสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM จำนวนมากทั่วโลก รวมนักลงทุนหน้าใหม่ ให้ความสำคัญสำหรับการแสวงหาสิทธิ์ในการเปิดให้บริการเครือข่าย 3G และมีแผนกำหนดเปิดให้บริการเทคโนโลยี W-CDMA โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับต้น ๆ ของโลก 8 รายได้ตัดสินใจเลือกมาตรฐาน W-CDMA เป็นเทคโนโลยี 3G
ในท้ายที่สุด ความสมบูรณ์แบบในการรองรับธุรกิจ Non-Voice ของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะช่วยผลักดันให้เกิดห่วงโซ่ธุรกิจที่สมบูรณ์ แม้จะมีความพยายามในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศที่จะผลักดันให้เกิดการประสานผลประโยชน์อย่างลงตัวระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G/2.5G/2.75G กับผู้ประกอบการสื่อข้อมูลต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายในตระกูล GSM และ CDMA เองที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้บริการ จึงทำให้เกิดการขาดช่วงของความสมดุลในการผสานผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ FOMA ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA และประสบความสำเร็จในการดึงศักยภาพของเครือข่าย W-CDMA ให้เกื้อหนุนต่อความลงตัวสำหรับการร่วมมือในธุรกิจ Non-Voice ในประเทศญี่ปุ่นอย่างงดงาม ต่อเนื่องด้วยความคืบหน้าในการสานต่อโครงสร้างธุรกิจ Non-Voice ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศ จึงสรุปได้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะเป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Non-Voice ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้
รูปที่ 6 Evolution paths of 2G standards

การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี GSM เปลี่ยนไปเป็น WCDMA
WCDMA เป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM การพัฒนาสู่ 3G ของระบบ GSM นั้นจะต้อง "เปลี่ยน" ระบบไปเป็น WCDMA และเพราะ WCDMA เป็นการพัฒนาเข้าสู่ 3G ของระบบ GSM นี่เอง ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหลาย กำหนดให้ระบบ GSM สามารถ ทำงานร่วมกับระบบ WCDMA ได้ ในช่วงที่กำลังเกิด "รอยต่อ" หรือ ช่วง "พลัดเปลี่ยน" เทคฯ และเหตุนี้เองจึงทำได้เกิดมือถือแบบ Dual Mode (GSM/WCDMA) ขึ้นมาอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ "เราจึงเรียก WCDMA ว่าเป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM" ส่วนระบบ cdma2000 มันพัฒนามาจาก CDMA One <หรือ CDMA ธรรมดา (IS-95)> และการพัฒนาสู่ 3G ของเจ้า CDMA นี้ ไม่ต้องเปลี่ยนเทคโนโลยี การพัฒนาจึงแค่ อัพเกรด ไปตามขั้นตอนของมันดังนี้ ( CDMA > CDMA2000 1x > CDMA2000 1xEV-DO ) WCDMA วายแบนด์ซีดีเอ็มเอ - Wideband Code-Division Multiple Access เป็นเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีมาตรฐานตามข้อกำหนดของไอทียู และเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อว่า IMT-2000 WCDMA เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระบบไร้สายในยุคที่ 3 และมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายความเร็วสูง โดยมีประสิทธิภาพการทำงานเหนือกว่าเทคโนโลยีทั่วไปที่ใช้ในตลาดในปัจจุบัน

CDMA2000 1X
เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีอยู่ในเมืองไทยและผู้บริโภคสามารถใช้บริการได้แล้วในขณะนี้คือ CDMA2000 1X ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่สามารถให้บริการทั้งทางเสียงและข้อมูล ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดบริการหนึ่งในขณะนี้ เทคโนโลยี CDMA2000 1X รองรับให้บริการทั้งทางเสียงและข้อมูล โดยอาศัยเพียงแถบความถี่ ขนาด 1.25 เมกกะเฮิร์ตซ นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพรองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่าระบบ CDMA One ถึง 2 เท่าและมากกว่าเทคโนโลยีจีเอสเอ็มหลายเท่าตัว ด้วยความสามารถ ดังกล่าว จึงพร้อมจะให้บริการทางเสียง ขณะเดียวกัน CDMA20001X ยังเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย บริการมัลติมีเดีย และบริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจ รวมทั้งประชาชนทั่วไป เนื่องจากสามารถส่งความเร็วที่สูงกว่าระบบอื่น เทคโนโลยี CDMA2000 1X สามารถให้บริการข้อมูลไร้สายด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 - 90 กิโลบิตต์ต่อวินาที โดยมีอัตราสูงสุดถึง 153 กิโลบิตต์ต่อวินาที

CDMA 20001xEV-DO (First Evolution, Data Optimized)
ระบบ 1x EV-DO เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่มีระบบการส่งสัญญาณข้อมูลแบบแพคเก็ต ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง ต้นทุนต่ำเหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไปรวมถึงผู้ใช้ที่ต้องการรับ - ส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล 1xEV-DO เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี CDMA 2000 และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล CDMA 2000 ที่ได้รับการยอมรับจากสมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( ITU ) ให้เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน การสื่อสารไร้สาย ยุค 3 G ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง พร้อมด้วยรูปแบบการใช้งานที่ง่ายโดยมีลักษณะการทำงาน ที่ใกล้เคียงกับการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย อุปกรณ์การสื่อสารที่รองรับระบบ ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ การสื่อสารไร้สายประเภทอื่น ๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ เครื่องพีดีเอที่รองรับการทำงานทั้งข้อมูลและเสียง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค รวมถึงโมเด็มสำหรับรับ -ส่งข้อมูลได้แก่ การ์ด PCMCIA และโมเด็มแบบ stand-alone การใช้งานเทคโนโลยี 1xEV-DO เชิงพาณิชย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 จวบจนกระทั่งในปัจจุบัน มีผู้ใช้ บริการการสื่อสารเคลื่อนที่ระบบ 1xEV-DO มากกว่า9 ล้านคน
ยูเอ็มทีเอส (UMTS ย่อจาก Universal Mobile Telecommunications System) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีของโทรศัพท์แคลื่อนที่ในยุค 3G ซึ่งอยู่ในขั้นตอนพัฒนาต่อไปยัง 4G ในปัจจุบันรูปแบบพื้นฐานของยูทีเอ็มเอสใช้งาน W-CDMA โดยตามมาตรฐานของ 3GPP และเป็นการตอบรับกับ ITU IMT-2000 สำหรับระบบการสื่อสาร ในบางครั้งจะเรียกยูทีเอ็มเอสว่า 3GSM เพื่อบ่งบอกถึงเทคโนโลยีของ 3G และมาตรฐาน GSM  ด้วยเหตุนี้เอง เครือข่าย UMTS จึงเป็นเครือข่ายที่ผู้ให้บริการทั้งหลายต่างคาดหวังว่าจะมาช่วยตอบสนองความต้องการด้านการใช้ข้อมูลของลูกค้า รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเป็นจำนวนมาก มาตรฐานของ UMTS ในปัจจุบันนั้นมีการเผยแพร่ออกมาแล้ว 4 มาตรฐานด้วยกัน โดยหน่วยงาน 3GPP (3G Partnership Project) รับหน้าที่ในการออกแบบมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
• Release 99 เป็นมาตรฐานใช้งานที่เพิ่มเติมจากเครือข่าย GPRS และ EDGE โดยจะมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ในส่วนของ BSS (Base Station Subsystem) ซึ่งเป็นส่วนที่ดูแลการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการกับเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยกลุ่มของอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมขึ้นมานั้นมีชื่อเรียกว่า UTRAN (UMTS Terrestrial Radio Access Network)
• Release 4 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ Core-Network โดยจะมีการนำเครือข่ายแบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode) และ IP ซึ่งเป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบเป็น Packet เข้ามาใช้งานแทนเครือข่ายแบบ Circuit Switched ที่ใช้งานอยู่ในเครือข่าย GSM ในปัจจุบัน
• Release 5 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ IMS (IP Multimedia Service) โดยการทำงานของ IMS จะช่วยให้การใช้งานแบบ Multimedia ในลักษณะของ Person to Person มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
• Release 6 เป็นมาตรฐานที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก เพียงแต่เพิ่มความสามารถในการทำงานของการจดจำคำพูด (Speech Recognition), Wi-Fi / UMTS inter-working (การสื้อสารระหว่างเครือข่าย Wireless LAN กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่)

ความเคลื่อนไหวในบ้านเรา
มีข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า กทช. จะเริ่มประมูลกันได้ประมาณเดือน ส.ค. และน่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือน ก.ย. (คณะกรรมการ กทช. อีก 3 ท่านรวมทั้งประธานกรรมการฯ คนปัจจุบันกำลังจะหมดวาระเดือน ต.ค. นี้) คาดว่าผู้ประกอบการน่าจะเริ่มเปิดให้ใช้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้าเป็นอย่างช้า สำหรับราคานั้นคาดการณ์กันว่าจะเริ่มต้นที่ใบละ 10,000 ล้านบาท (reserved price) ตามที่ พ.อ. นที ได้ออกมาให้ข่าวก่อนหน้านี้ โดยที่คิดจากมูลค่าของคลื่นที่ประเมินไว้ที่ 12,000 ล้านบาทและคิด reserved price ที่ 80% ของมูลค่าคลื่น ค่าคลื่นหมื่นล้านแพงไหม? ปรกติการที่จะเปรียบเทียบค่าคลื่นต้องแปลงให้อยู่ในรูปของ ราคาต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อหัว (price/MHz/population) เสียก่อนเพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบ ของไทยถ้าคิดว่าจบที่ใบละ 12,000 ล้านบาท จะได้ประมาณ 6.3 บาทต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อหัว ซึ่งเท่ากับการประมูลคลื่นที่เยอรมันที่เพิ่งจบไปเร็วๆ นี้ แต่อย่าลืมว่าค่าครองชีพของเยอรมันกับไทยนั้นต่างกันมาก... แต่ถ้าจะสรุปว่ามันแพงไปก็ต้องไปดูที่อินเดียก่อน ที่อินเดียเค้าประมูลแยกตามแต่ละพื้นที่ พื้นที่ที่แพงที่สุดอยู่ที่เมืองเดลี โดยได้ตัวเลขออกมาอยู่ที่ประมาณ 133.75 บาทต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อหัว ส่วนพื้นที่ที่ถูกที่สุดอยู่ที่พื้นที่ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียตกอยู่ที่ประมาณ 0.83 บาทต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อหัว การจะบอกว่าราคาคลื่นของไทยถูกหรือแพงมันบอกยาก แต่ถ้าบอกว่าตอนนี้เอไอเอสจ่ายค่าสัมปทานอยู่ "ปีละ" กว่า 25,000 ล้านบาท... การจ่ายเพียง 12,000 ล้านบาทสำหรับใบอนุญาต 15 ปีนั้นถือว่าถูกสุดๆ

บทสรุป คลื่นความถี่ 3.9G ที่ประเทศไทย
3.9 G เป็นชื่อที่ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี LTE (LTE - Long Term Evolution ) ซึ่งเป็นความถี่สูงสุดในระดับนี้ สำหรับประเทศไทยจะได้ใช้เทคโนโลยีอะไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทไหนจะเป็น ผู้ที่ได้รับ License หรือเป็นผู้ที่ชนะในการประมูลครั้งนี้นั้นเอง โดย กทช. คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน กันยายน นี้ เหตุผลที่ กทช. ใช้คำว่า 3.9G เพราะเป็นคลื่นความถึ่สูงสุดที่ผู้ประมูลได้ สามารถใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวนี้ได้สูงสุดหรืออาจใช้คลื่นความถี่ที่ต่ำลงมาก็ได้ กทช. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดเทคโนโลยีเอง ผู้ที่ได้รับ license จะเป็นคนกำหนดเว่า จะใช้ความถี่ใด และเลือกใช้เทคโนโลยีใดระหว่าง LTE (3.9G) หรือ HSPA+(3.8G) (High Speed Packet Access + ) ความเป็นไปได้น่าจะเป็น HSPA+ เนื่องจาก HSPA+ รองรับเทคโนโลยีเดิมได้ดีกว่า LTE เป็นอันว่าอีกไม่นานเราก็น่าจะมีโอกาสได้เข้าใกล้ เทคโนโลยี 4G กันแล้ว ซึ่งก็หวังว่าราคาการประมูลที่ได้ในครั้งนี้คงจะไม่แพงจนเกินไป ซึ่งก็แน่นอนถ้าประมูลได้ในราคาที่แพงมาก ผลกระทบก็จะไปตกอยู่กับผู้ใช้บริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นเอง



แหล่งอ้างอิง
1. http://www.itu.int/osg/spu/imt-2000/technology.html#Cellular%20Standards%20for%20the%20Third%20Generation
2. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550
3. http://www.manager.co.th
4. http://www.9bear.com/2010/06/39g.html
5. http://tonhor.exteen.com/20100531/3-9g-1
6. http://www.totalaircard.com
7. http://www.tj.co.th/telecomjournal/modules/news/article.php?storyid=916
8. UMTS Forum
9. http://www.telecomjournal.net/index.php
10. http://www.mobileinternetthailand.com/2010/06/10/242/
11. http://www.naikajok.krubpom.com/?name=naikajokboard&file=read&id=46
12. http://www.blognone.com/news/16605
13. http://news.sanook.com/935767.html
14. http://jows.blogspot.com
15. http://th.wikipedia.org/wiki/
ITM640 เทคโนโลยีการสื่อสารและอินเตอร์เน็ต ID : ITM0408

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้ข้อความสุภาพ