วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

DATA WAREHOUSE & DATA MINING

ปัจจุบันระบบสนับสนุนข้อมูลในการตัดสินใจได้เข้ามามีอิทธิพลในการรวบรวมข้อมูลและปรับค่าข้อมูลในคลังสินค้า ซึ่งฐานข้อมูลขนาดใหญ่นี้จะประกอบไปด้วยข้อมูลเป็นพันๆ ล้านไบต์ ยากแก่การค้นหาได้อย่างทันกาลด้วยวิธี DBMS ( Database Management System ) โดยทั่วไป ข้อมูลที่เป็นที่สนใจของผู้บริหารธุรกิจวันนี้สามารถจะค้นหาได้ง่ายขึ้น องค์กรส่วนใหญ่ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง และปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับองค์กรคือข้อมูลที่มีอยู่และใช้ประจำวัน (Operational Database) ซึ่งนับวันจะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในแต่ละองค์กร ที่จะต้องมีการจัดเก็บอย่างดี ในอดีตการจัดเก็บข้อมูลเป็นเพียงการจัดเก็บบนเทปแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ แผ่นซีดี ซึ่งมักจะเสี่ยงกับการสูญหายของข้อมูล และการค้นหาข้อมูลก็ทำได้ยากและใช้เวลานาน ยิ่งข้อมูลที่มีจำนวนมากๆ หรือมีขนาดใหญ่ ยิ่งเสี่ยงมาก อีกทั้ง การประมวลผลของข้อมูลยังช้าอีกด้วย ดังนั้น จึงมีผู้คิดค้นวิธรการจัดเก็บข้อมูลเพื่อสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นก็คือ การจัดเก็บข้อมูลในระบบคลังข้อมูล หรือ Data Warehouse นั่นเอง เรามาทำความเข้าใจกับคลังข้อมูลกันก่อนว่า คลังข้อมูลนี้เป็นอย่างไร



นิยามของคลังข้อมูล DATA WAREHOUSE

Data Warehouse หมายถึง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรหรือหน่วยงานหนึ่งๆ ซึ่งเก็บ รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล ระบบงานประจำวัน เรียกอีกอย่างว่า operational database หรืออาจเรียกว่า Internal Data Sources และฐานข้อมูลอื่นภายนอกองค์กร หรือเรียกว่า external database โดยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในคลังข้อมูลนั้น มีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้งาน และมีลักษณะของการ จัดเก็บแตกต่างไปจากข้อมูลในฐานข้อมูลระบบงานอื่น การย้ายข้อมูลจากฐานข้อมูลปกติ เข้าไปไว้ ใน Date Warehouse มีข้อดีหลายอย่าง เช่น ทำให้องค์กรหรือ เจ้าของข้อมูล มีโอกาสได้ออกแบบ รูปแบบการเก็บข้อมูลใหม่ให้เหมาะสมกับการเรียกใช้มากยิ่งขึ้น และทำให้เหมาะ สำหรับการนำไปใช้ ช่วยในการตัดสินใจ หรือใช้ในงานวิเคราะห์ นอกจากนั้นระบบ Data Warehouse ยังรวมเอา ข้อมูลที่ ใช้อยู่ในปัจจุบันเข้ากับข้อมูลในอดีตเข้าเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน สามารถเรียกใช้งานได้จาก อินเตอร์เฟสแบบ กราฟิกได้โดยตรง (GUI) พร้อมสำหรับการจัดการข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้ไป วิเคราะห์ ข้อดีสุดท้ายก็คือ ระบบ Data Warehouse ทำให้ผู้ใช้ระดับสูง หรือพนักงานทั่วไปสามารถ เข้าถึงและเรียกใช้ฐานข้อมูลได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทาง IT อีก ต่อไป ทำให้ทั้งคู่คือพนักงานและเจ้าหน้าที่ IT ทำงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น



รูปแสดงระดับของข้อมูล

 จากรูปจะแสดงให้เห็นถึงระดับของข้อมูล โดยลำดับจากฐานไปสู่ยอดสามเหลี่ยม การเคลื่อนย้ายข้อมูลจะเป็นลักษณะวันต่อวัน (Transaction) ซึ่งเกิดจากการเก็บรวบรวมจากทุกส่วนขององค์กรที่เป็นหน่วยงานระดับปฏิบัติการ (Operation) เพื่อทำการจัดระบบให้เป็นหมวดหมู่ และสามารถเรียกใช้ได้ง่าย โดยทั่วไปเราเรียกว่า การจัดเก็บในรูปแบบ “ฐานข้อมูล (Database)” หลังจากผ่านกระบวนการ วิเคราะห์ และสรุป แล้วจะนำไปเก็บไว้ในระบบข้อมูลที่สูงขึ้น นั่นคือ Data Warehouse โดยข้อมูลใน Data Warehouse นี้ถือว่าเป็นข้อมูลที่มีระโยชน์ในเชิงกลยุทธ์ ในทางธุรกิจถือว่าเป็นระบบพื้นฐานที่คอยสนับสนุนระบบ “ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligent System)” ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถช่วยให้ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงสามารถนำมาใช้เพื่อการวางกลยุทธ์ สามารถช่วยในการพยากรณ์สถานการณ์ในอนาคตเพื่อการวางแผนการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การที่ Data Warehouse จะทำงานได้ตามที่กล่าวไว้ได้ดีหรือไม่นั้น ก็ต้องเกิดจากการรวบรวมข้อมูลที่ครบรอบด้าน ทุกมิติ และควรเก็บข้อมูลในอดีตที่ยาวนานเพียงพอ จึงจะทำให้การพยากรณ์แม่นยำ ถ้าข้อมูลใน Data Warehouse ถูกพัฒนาในเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์มากขึ้น ก็สามารถนำไปใช้ในระดับการวางยุทธศาสตร์ในระดับผู้บริหารระดับสูง (Executives) ได้ในที่สุด (พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ)




สาเหตุที่ต้องใช้ Data warehouse
องค์กรต่างๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีการลงทุนลงแรงไปมาก กับระบบที่เรียกว่า “ระบบ ฐานข้อมูลประจำวัน Operational System” ระบบสารนิเทศที่ว่านี้จะมีหน้าที่หลักในการรวบรวมและ จัดเก็บข้อมูลเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ของลูกค้า ข้อมูลการขาย ข้อมูลฝ่ายบุคคลหรือข้อมูลเกี่ยวกับ คงคลังก็ตาม เนื่องจากระบบเหล่านี้มีการลงทุนไปมาก ดังนั้นปริมาณข้อมูลที่มหาศาลก็เลยถือได้ว่าเป็น ทรัพย์สินและ ทรัพยากรอย่างหนึ่งขององค์กรด้วย และจำเป็นต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อนำเอาทรัพย์สินเหล่านี้มาใช้อย่างเกิด ประโยชน์สูงสุด หลาย ๆ องค์กรนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยในการ ตัดสินใจโดยประยุกต์ใช้เป็นระบบ “Decision Support System” (DSS) โดยนำเอาระบบ Data Warehouse มาช่วยเพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มากขึ้นข้อมูลเชิงบริหารนี้จะสามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลปฏิบัติการ(operational database) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบ transaction system ได้ ซึ่งโดยทั่วไปปัญหา ที่พบเมื่อต้องการข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจได้แก่
- การเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลปฏิบัติการ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลง และทำงานได้ช้าลง

- ข้อมูลที่นำเสนอมีรูปแบบเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้บริหาร
- ไม่สามารถหาคำตอบในเชิงพยากรณ์ได้
- ไม่ตอบสนองการทำคิวรีที่ซับซ้อนได้ดีเท่าที่ควร
- ข้อมูลถูกจัดเก็บอยู ตามฐานข้อมูลของระบบงานต่างๆ ซึ่งยากแก่การเรียกใช้และขาดความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
- จากรูปจะเห็นได้ว่าการดึงข้อมูลจาก Database และ Data Warehouse ก็สามารถเชื่อมต่อ กับ Internet ได้



เครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำ DATA WAREHOUSE แบ่งเป็น 3 ส่วน

1. Construct warehouse ทำหน้าที่ในการสร้างตัว warehouse ส่วนที่เป็น warehouse Construction เป็นการดึงฐานข้อมูลในแต่ละข้อมูลที่ใช้กันอยู่ในแต่ละแผนก ที่ เรียกว่าเป็น Operational Database ทำหน้าที่ duplicate data ให้มีสาระ มีความสำคัญ ในระบบจะคลอบคลุมถึง Data Cleansing หรือการทำความสะอาดข้อมูล มีการแยกข้อมูลที่เป็นข้อมูล สารสนเทศจริง ข้อมูลใดที่ควรนำมาเก็บในตัว warehouse เป็นต้น
2. Operate warehouse ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการตัว warehouse ให้คงอยู่ได้ รวมทั้งการดูแลรักษาต่างๆ
3. Warehouse Access and analyze software ทำหน้าที่ในการดึงข้อมูลเพื่อใช้ในการ วิเคราะห์ประมวลผล ประเมินสถานการณ์ต่างๆ เพื่อที่ให้ผู้บริหารสามารถดึงข้อมูลออกมา หรือ สร้างเป็น Report ได้


วิวัฒนาการของเทคโนโลยีฐานข้อมูล

ในปี 1960 เทคโนโลยีฐานข้อมูลได้เริ่มพัฒนามาจาก file processing พื้นฐาน การค้นคว้าและพัฒนาระบบฐานข้อมูลมีมาเรื่อย ๆ
ปี 1970 ได้นำไปสู่การพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลในรูปแบบตาราง ( Relational Database System ) มีเครื่องมือจัดการโมเดลข้อมูล และมีเทคนิคการใช้อินเด็กซ์และการบริหารข้อมูล นอกจากนี้ผู้ใช้ยังได้รับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลโดยการใช้ภาษาในการเรียกข้อมูล ( Query Language )
ปี 1980 เทคโนโลยีฐานข้อมูลได้เริ่มมีการปรับปรุงและพัฒนาในการหาระบบจัดการที่มีศักยภาพมากขึ้น ความก้าวหน้าในเทคโนโลยี hardware ใน 30 ปีที่ผ่านมา ได้นำไปสู่การจัดเก็บ ข้อมูลจำนวนมากที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ปี 1990 – ปัจจุบัน สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในหลายรูปแบบ แตกต่างกันทั้งระบบปฏิบัติการ หรือการจัดเก็บฐานข้อมูล ซึ่งการนำข้อมูลทั้งหมดมารวมและจัดเก็บไว้ในรูปแบบเดียวกันเรียกว่า Data Warehouse เพื่อความสะดวกในการจัดการต่อไป ซึ่งเทคโนโลยี Data Warehouse รวมไปถึง Data Cleansing , Data Integration และ On-Line Analytical Processing ( OLAP ) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลในหลาย ๆ มิตินั้นได้เกิดขึ้นมาตามลำดับ การละเลยข้อมูล ควบคู่ไปกับการขาดเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่มีศักยภาพ นำไปสู่คำสถานการณ์ที่ว่า “ ข้อมูลมาก แต่ความรู้น้อย ” ( data rich but information poor ) การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของข้อมูลจำนวนมากที่สะสมไว้ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่มากซึ่งเกินกว่าที่กำลังคนจะสามารถจัดการได้ เป็นผลทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและหาความเป็นไปได้ของข้อมูลทั้งหมดที่เป็นประโยชน์ออกมา ซึ่งก็คือ Data Mining

คุณสมบัติของ Data Warehouse

1. Consolidated and Consistant
Consolidated หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมาไว้ที่ศูนย์กลางเดียวกัน (คลังข้อมูล) Consistant หมายถึง ข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่รวบรวมมาไว้ในคลังข้อมูล จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน รูปแบบเดียวกัน และสอดคล้องกัน
2. Subject-Oriented Data หมายถึง เก็บข้อมูลในระดับปฏิบัติการเฉพาะส่วนที่นำมาใช้เชิงวิเคราะห์หรือ เชิงตัดสินใจมากกว่า การเก็บข้อมูลเพื่อตอบคำถาม
3. Historical Data หมายถึง จะเก็บย้อนหลังเป็นเวลาหลายๆปี เพื่อจะได้นำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบหาแนวโน้มของข้อมูลเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
4. Read – Only Data หมายถึง ข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ควรมีการแก้ไขหลังจากที่นำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลของคลังข้อมูลแล้วไม่มีการ Insert update or delete ข้อมูลภายในคลังข้อมูลนอกจากการเพิ่มข้อมูลเข้าอย่างเดียว


คุณลักษณะเฉพาะของ Data Warehouse

1. Subject oriented หรือการแบ่งโครงสร้างตามเนื้อหา หมายถึง คลังข้อมูลถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นไปในแต่ละเนื้อหาที่สนใจ ไม่ได้เน้นไปที่การทำงานหรือกระบวนการแต่ละอย่างโดยเฉพาะเหมือนอย่างฐานข้อมูลปฏิบัติการในส่วนของรายละเอียดข้อมูลที่จัดเก็บในระบบทั้งสองแบบก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งานด้วยเช่นกัน คลังข้อมูลจะไม่จำกัดเก็บข้อมูลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมวลผลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ในขณะที่ข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลปฏิบัติการหากมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน
2. Integration หรือการรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของคลังข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูลจากหลายฐานข้อมูลปฏิบัติการเข้าด้วยกัน และทำให้ข้อมูลมีมาตราฐานเดียวกัน เช่นกำหนดให้มีค่าตัวแปรของข้อมูลในเนื่อหาเดียวกันให้เป็นแบบเดียวกันทั้นหมด
3. Time variancy หรือความสัมพันธ์กับเวลา หมายถึงข้อมูลในคลังข้อมูล จะต้องจัดเก็บโดยกำหนดช่วงเวลาเอาไว้ โดยจะสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจของหน่วยธุรกิจนั้น เพราะในการตัดสินด้านการบริหารจำเป็นต้องมีข้อมูลเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลา แต่ละจุดของข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับจุดของเวลาและข้อมูลแต่ละจุดสามารถเปรียบเทียบกันได้ตามแกนของเวลา
4. Nonvolatile หรือความเสถียรของข้อมูล หมายถึงข้อมูลในคลังข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ หรือการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเดิมที่บรรจุอยู่แล้ว ผู้ใช้ทำได้เพียงการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น


สถาปัตยกรรมของ Data warehouse

1. Operational database หรือ external database layer ทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลในระบบงานปฏิบัติการหรือแหล่งข้อมูล ภายนอกองค์กร
2. Information access layer เป็นส่วนที่ผู้ใช้ปลายทางติดต่อผ่านโดยตรง ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการ แสดงผลเพื่อวิเคราะห์ โดยมีเครื่องมือช่วย เป็นตัวกลางที่ผู้ใช้ใช้ติดต่อกับคลังข้อมูล
3. Data access layer เป็นส่วนต่อประสานระหว่าง Information access layer กับ operational layer
4. Metadata layer เพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น และเป็นการเพิ่มความเร็วในการเรียกและดึงข้อมูลของคลังข้อมูล
5. Process management layer ทำหน้าที่จัดการกระบวนการทำงานทั้งหมด
6. Application messaging layer เป็นมิดเดิลแวร์ (Middleware) ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลภายในองค์กรผ่านทางเครือข่าย
7. Data warehouse (physical) layer เป็นแหล่งเก็บข้อมูลของทาง information data และ external data ในรูปแบบที่ง่ายแก่การ เข้าถึงและยืดหยุ่นได้
8. Data staging layer เป็นกระบวนการการแก้ไข และดึงข้อมูลจาก external database


โมเดลข้อมูลของ Data Warehouse

โมเดลข้อมูลของคลังข้อมูลของ Data Warehouse ซึ่งเปรียบเสมือนกับรูปลูกบาศก์ที่มีมุมมองหลากหลาย แต่ละมุมมองทำให้เกิดการคิวรีข้อมูลจาก Data Warehouseได้หลากหลายแบบคิวบ์ (Cube) ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญคือ Dimention และ Measure การผสมผสานของ Dimention ต่างๆ ของคิวบ์ (Cube) ในบทนี้ คิวบ์ (Cube) มีโครงสร้างได้ 2 แบบคือ โครงสร้างแบบ Star Schema และ โครงสร้างแบบ Snowflake Schema
Dimensional Modeling เป็นชื่อเรียกของเทคนิคในการทำให้ฐานข้อมูลง่ายต่อการทำความเข้าใจ โดยการมองภาพของฐานข้อมูลเป็นลูกบาศก์ที่มี 3,4,5 มิติ หรือมากกว่านั้น ทำให้สามารถจิตนาการการ หันหรือแบ่งลูกบาศก์ที่มีลักษณะเหมือนลูกเต๋านี้ได้ นั่นคือสามารถตัดข้อมูลมาวิเคราะห์ดูในช่วงใดก็ได้ และหมุนข้อมูลดูได้จากทุกๆด้านของลูกเต๋า ตัวอย่างเช่น เราขายสินค้า (product) ในหลายๆที่ (market) และในช่วงเวลาต่างๆกัน (time) เราสามารถสร้าง Dimensional Modeling ได้โดยให้ label คือ product, market และ time อยู่บนแต่ละด้านของลูกบาศก์ที่เป็น 3 มิติ แต่ละจุดภายในลูกบาศก์เกิดจากการตัดของ coordinate ซึ่งมี label อยู่ที่ขอบของลูกบาศก์ ดังนั้นจุดต่างๆภายในลูกบาศก์คือผลลัพธ์ทางด้านธุรกิจที่พิจารณาจากทั้ง 3 เรื่องคือ สินค้า, ทีขายสินค้า, เวลา พร้อมๆกัน


การออกแบบโครงสร้างการเชื่อมโยงระหว่างตารางเก็บข้อมูล ตามลักษณะของ Dimensional แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. Star schema เป็นเทคนิคที่ใช้ multidimensional model โดย data warehouse จะมีตั้งแต่ 1 star schema ขึ้นไป star schema จะมีลักษณะที่มี fact table อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยหลาย ๆ dimension table ที่เก็บรายละเอียดของ fact ที่ไม่ใช่ normalized center Star Schema วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการ query โดยลดประมาณ data ที่ อ่านจาก disk การวิเคราะห์การ queries ข้อมูลใน dimension table ที่เล็กจะใช้ dimension key จาก indexใน central fact table เป็นการลดจำนวนข้อมูลที่ต้องตรวจสอบ ซึ่งมีข้อดีคือ มีจำนวนของตารางน้อย ,สร้าง query ง่าย และเร็ว





ลักษณะของการ Slice and Dice View of Sales





รูปแบบลักษณะของ Star Schema for Sales


2. Snowflake schema มีความแตกต่างจาก Star schema ตรงที่ dimension table จะเก็บข้อมูลจะเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูป normal form จาก star schema เราอาจจะเกิดปัญหาในการ design ได้ snowflake จึงเกิดขึ้นมาเนื่องจากปัจจัยดังนี้
• สภาวะทางธุรกิจ
• การ design ไม่สามารถ implement โดยใช้ star schema

Snowflake Schema จะใช้ในทางธุรกิจ แต่จะไม่แนะนำให้เลือกวิธีนี้ เนื่องจากวิธี นี้มีความยุ่งยากในการดูแล การเก็บข้อมูลผู้ใช้ระบบไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลอยู่ที่ ไหน อีกทั้งการเข้าถึงข้อมูลยังช้าอีกด้วย

KEYWORD FOR CUBE
• Slice การนำเสนอหน้าใดหน้าหนึ่ง
• Dice การตัดส่วนของ CUBE ให้เล็กลง
• Roll up การยุบ หรือ รวมให้สูงระดับสูงขึ้น
• Drill Down การย่อยลง ให้สูงระดับต่ำลง


Online Analytical Processing (OLAP)

คือการใช้คำค้น (query) เพื่อค้นหาข้อมูลในคลังข้อมูลเหมือนในฐานข้อมูล เหตุผลที่เราไม่ค้นในฐานข้อมูล แต่มาทำในคลังข้อมูลแทนมีสองสาเหตุคือ ความเร็ว ความครอบคลุมของข้อมูลทั้งบริษัทที่มีอยู่ในคลังข้อมูล ในการสำรวจข้อมูลของผู้บริหารอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ต้องการข้อมูล เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในรูปของ สเปรดชีด (Spreadsheets) รายงาน (Report) และ เครื่องมือวิเตราะห์ (Analytical tools) เครื่องมือที่สามารถนำเสนอข้อมูล และ วิเคราะห์ข้อมูล ดังกล่าว คือ Online Analytical processing (OLAP) โดยโปรแกรมดังกล่าว เป็นเครื่องมือ ที่นำเสนอข้อมูลในรูปแบบ ต่างๆ จาก Data Warehouse. OLAP server และ Desktop tools สนับสนุนการวิเคราะห์ความเร็วสูง ของ ชุดข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ส่วนผสมของ สินค้า(Product) ช่องทางการขาย (Channel of distribution) และ ระยะเวลา (Time period ) OLAP ถูกออกแบบให้ ความสามารถในการเรียกดูข้อมูล ที่รวดเร็ว เนื่องจาก โครงสร้างการจัดเก็บที่เหมาะสม และ การหลีกเลี่ยงการใช้ Index จำนวนมาก ทำให้ระบบแบบนี้จึงไม่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจำนวนมากๆ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ทำให้ OLAP ถูกใช้ร่วมกับ Data Warehouse เสมอ



CRM (Customer Relationship Management) กับ Data Warehouse

ปัจจุบันกระแสของ CRM ยังเป็นกระแสที่มาแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ว่าผู้บริหารทั้งส่วนธุรกิจ และส่วนไอที ต่างก็หนีไม่พ้นเรื่อง CRM ที่ว่านี้เลย CRM นั้นย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือการบริหารลูกค้าสัมพันธ์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม CRM เป็นเพียงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยมีความหวังว่าลูกค้าเหล่านั้นจะมีความจงรักภักดีกับองค์กรกับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของเราทำไมเราจึงต้องมี CRM การทำธุรกิจแบบเดิมๆ ที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอเพราะในโลกของธุรกิจ ย่อมต้องแข่งขันกันซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น สินค้าและบริการที่แต่เดิมจะขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าจะผลิตอะไรออกมาให้ใช้ เริ่มเปลี่ยนเป็นรูปแบบที่เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก (Customer Oriented) หรือผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดว่าต้องการสินค้าแล้วบริการอะไรการแข่งขันที่รุนแรงนี้เอง ประกอบกับสินค้าที่แทบจะไม่มีความแตกต่าง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ลูกค้าไม่หลงเหลือความจงรักภักดีแล้ว นี่แหล่ะคือเหตุผลที่บริษัทหลายๆ แห่งจะเน้นไปที่การบริการ เพื่อสร้างความแตกต่าง และ CRM เองก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยสร้างความแตกต่างนี้ ในปัจจุบันบริษัททั้งหลายจึงเน้นไปที่ลูกค้าของตนเองที่มีอยู่เดิม เราจึงไม่ต้องแปลกใจว่าสำหรับผู้ที่มีส่วนแบ่งทางตลาดที่อาจจะไม่ได้เติบโตมากนัก ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทมีการดำเนินงานที่ไร้ประสิทธิภาพ เพราะว่าการทำให้ฐานลูกค้าเดิมจ่ายเงินมากขึ้น ย่อมหมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นได้ แล้วทำไมธุรกิจทั้งหลายจึงเลือกที่จะมุ่งไปที่ลูกค้าเดิมที่มีอยู่ คำตอบง่ายๆ ก็เพราะว่าค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าใหม่ๆ มันสูงกว่าการทำให้ลูกค้าเดิมๆ จ่ายเพิ่มนั่นเอง การที่จะทำให้ลูกค้าเดิมจ่ายเงินมากขึ้น แน่นอนว่าเรายังต้องการ M อีกหนึ่งตัว นั่นก็คือ Marketing นั่นเอง ดังนั้นในปัจจุบัน คำเรียกที่น่าจะดูมีพลังและสะท้อนถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทมากที่สุดน่าจะเป็น CRM&M มากกว่า เพราะแค่การบริหารลูกค้าเดิมนั้นให้รู้สึกดีกับองค์กรก็ทำให้เขารู้สึกดีระดับหนึ่ง แต่การหาผลประโยชน์จากความสัมพันธ์อันดีต่างหาก นั่นคือหัวใจหลักที่เราจะต้องรู้จักทำการตลาด ผมเองเชื่อว่ายังมีบริษัทอีกมากมายที่ยังไม่ได้ลงมานั่งวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าอย่างจริงๆ จังๆ ดังนั้นในแง่ของ Business Intelligent (BI) หรือ Data Warehouse คงจะเริ่มมีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ และการหารายได้แบบหนึ่งต่อหนึ่งกับลูกค้า เช่น บริษัทบัตรเครดิตมีการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าผ่านบัตรเครดิตของแต่ละคนแค่ไหน และฐานข้อมูลของผู้ใช้บัตรเมื่อสามปีที่แล้วกับผู้ใช้บัตรคนเดิม ณ ปัจจุบันมีการปรับปรุงแค่ไหน สถานะของเขาเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรเพื่อจะได้นำเสนอสินค้าและบริการให้ตรงใจได้นั้น ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าช่วงนั้นช่วงนี้ ผู้ถือบัตรอาจจะเติบโตในสายงานมีเงินเดือนมากขึ้น หรืออาจจะแต่งงาน ซื้อบ้าน หรือแม้กระทั่งกำลังจะมีลูก และอื่นๆ ตลอดชั่วอายุคน สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสที่จะนำเสนอสินค้าและบริการทั้งสิ้น การนำสินค้าและบริการนำเสนอให้ถูกคนถูกเวลา คงจะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต


DATA MINING คืออะไร

Data Mining คือ ชุด software วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ มันเป็น software ที่สมบรูณ์ทั้งเรื่องการค้นหา การทำรายงาน และโปรแกรมในการจัดการ ซึ่งเราคุ้นเคยดีกับคำว่า Executive Information System ( EIS ) หรือระบบข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหาร ซึ่งเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่สามารถค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหาร ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System) คือทำอย่างไรให้ข้อมูลที่เรามีอยู่กลายเป็นความรู้อันมีค่าได้สร้างคำตอบของอนาคตได้ นี่คือจุดประสงค์ของ Data Mining ที่จะมาช่วยในเรื่องของเทคนิคการจัดการข้อมูล ซึ่งได้พยายามและทดสอบแล้วและข้อมูลสนับสนุนที่มีอาจย้อนหลังไปถึง 30 ปี ด้วยเทคนิคเดียวกันนี้เราสามารถใช้ค้นข้อมูลสำคัญที่ปะปนกับข้อมูลอื่น ๆ ในฐานข้อมูลที่ไม่ใช่แค่การสุ่มหา บางคนเรียกว่า KDD ( Knowledge Discovery in Database ) หรือ การค้นหาข้อมูลด้วยความรู้ และนั่นก็คือ Data Mining
Philippe Nieuwbourg ( CXP Information ) กล่าวไว้ว่า “ Data Mining คือ เทคนิคที่ผู้ใช้สามารถปฏิบัติการได้โดยอัตโนมัติ กับ ข้อมูลที่ไม่รู้จัก ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่า ให้กับข้อมูลที่มี” จากประโยคข้างต้นมีคำอยู่สามคำที่สำคัญ คือ คำแรก “ อัตโนมัติ” คือ กระบวนการทำงานของ Data Mining ซึ่งจะเป็นผู้ทำงานเองไม่ใช่ผู้ใช้กระบวนการจะไม่ให้คำตอบกับปัญหาที่มีแต่จะเป็นศูนย์กลางของข้อมูล คำที่สอง “ข้อมูลที่ไม่รู้จัก” เครื่องมือในการค้นหาใหม่ของ Data Mining ซึ่งจะไม่ค้นหาแต่ข้อมูลเก่าและข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนให้เท่านั้น แต่จะค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วย และสุดท้าย “ เพิ่มคุณค่า ” นั่นหมายถึง ผู้ใช้ไม่ได้เป็นแค่เพียงนักสถิติ แต่เป็นได้ถึงระดับตัดสินใจ


ทำไมจึงต้องมี Data Mining

1.ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลหากเก็บไว้เฉย ๆ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ดังนั้นจึงต้องมีการสกัดสารสนเทศไปใช้ การสกัดสารสนเทศ หมายถึง การคัดเลือกข้อมูลออกมาใช้งานในส่วนที่เราต้องการ
2.ในอดีตเราใช้คนเป็นผู้สืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูลซึ่งผู้สืบค้นจะทำการสร้างเงื่อนไขขึ้นมาตามภูมิปัญญาของผู้สืบค้น
3.ในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวอาจไม่ให้ความรู้เพียงพอและลึกซึ้งสำหรับการดำเนินงานภายใต้ภาวะที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจึงจำเป็นที่จะต้องรวบรวมฐานข้อมูลหลาย ๆ ฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ คลังข้อมูล” ( Data Warehouse) ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้ Data Mining ในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เพื่อที่จะนำข้อมูลนั่นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด


ปัจจัยที่ทำให้ Data Mining เป็นที่ได้รับความนิยม

• จำนวนและขนาดข้อมูลขนาดใหญ่ถูกผลิตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว การสืบค้นความรู้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อฐานข้อมูลที่ใช้มีขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันมีจำนวนและขนาดข้อมูลขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยผ่านทาง Internet ดาวเทียม และแหล่งผลิตข้อมูล อื่น ๆ เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด , เครดิตการ์ด , อีคอมเมิร์ซ
• ข้อมูลถูกจัดเก็บเพื่อนำไปสร้างระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System) เพื่อเป็นการง่ายต่อการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ส่วนมากข้อมูลจะถูกจัดเก็บแยกมาจากระบบปฏิบัติการ ( Operational System ) โดยจัดอยู่ในรูปของคลังหรือเหมืองข้อมูล ( Data Warehouse ) ซึ่งเป็นการง่ายต่อการนำเอาไปใช้ในการสืบค้นความรู้
• ระบบ computer สมรรถนะสูงมีราคาต่ำลง เทคนิค Data Mining ประกอบไปด้วย Algorithm ที่มีความซับซ้อนและความต้องการการคำนวณสูง จึงจำเป็นต้องใช้งานกับระบบ computer สมรรถนะสูง ปัจจุบันระบบ computer สมรรถนะสูงมีราคาต่ำลง พร้อมด้วยเริ่มมีเทคโนโลยีที่นำเครื่อง microcomputer จำนวนมากมาเชื่อมต่อกันโดยเครือข่ายความเร็วสูง ( PC Cluster ) ทำให้ได้ระบบ computer สมรรถนะสูงในราคาต่ำ
• การแข่งขันอย่างสูงในด้านอุตสาหกรรมและการค้า เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างสูงในด้านอุตสหกรรมและการค้า มีการผลิตข้อมูลไว้อย่างมากมายแต่ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมและสืบค้นความรู้ที่ถูกซ่อนอยู่ในฐานข้อมูลความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจในการจัดการในระบบต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความรู้เหล่านี้ถือว่าเป็นผลิตผลอีกชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว


ประเภทข้อมูลที่สามารถทำ Data Mining

• Relational Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบของตาราง โดยในแต่ละตารางจะประกอบไปด้วยแถวและคอลัมน์ ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดสามารถแสดงได้โดย entity-relationship ( ER ) model
• Data Warehouses เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งมาเก็บไว้ในรูปแบบเดียวกันและรวบรวมไว้ในที่ ๆ เดียวกัน
• Transactional Database ประกอบด้วยข้อมูลที่แต่ละทรานเซกชันแทนด้วยเหตุการณ์ในขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ใบเสร็จรับเงิน จะเก็บข้อมูลในรูป ชื่อลูกค้าและรายการสินค้าที่ลูกค้ารายนั้นซื้อ เป็นต้น
• Advanced Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ข้อมูลแบบ object-oriented , ข้อมูลที่เป็น text file , ข้อมูลมัลติมีเดีย , ข้อมูลในรูปของ web


ลักษณะเฉพาะของข้อมูลที่สามารถทำ Data Mining

• ข้อมูลขนาดใหญ่ เกินกว่าจะพิจารณาความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลได้ด้วยตาเปล่า หรือโดยการใช้ Database Management System ( DBMS ) ในการจัดการฐานข้อมูล
• ข้อมูลที่มาจากหลายแหล่ง โดยอาจรวบรวมมาจากหลายระบบปฏิบัติการหรือหลาย DBMS เช่น Oracle , DB2 , MS SQL , MS Access เป็นต้น
• ข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาที่ทำการ Mining หากข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจะต้องแก้ปัญหานี้ก่อน โดยบันทึกฐานข้อมูลนั้นไว้และนำฐานข้อมูลที่บันทึกไว้มาทำ Mining แต่เนื่องจากข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จาการทำ Mining สมเหตุสมผลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องเหมาะสมอยู่ตลอดเวลาจึงต้องทำ Mining ใหม่ทุกครั้งในช่วงเวลาที่เหมาะสม
• ข้อมูลที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาทำ Mining ได้เช่นกันแต่ต้องใช้เทคนิคการทำ Data Mining ขั้นสูง


การประยุกต์ใช้งาน Data Mining

• ธุรกิจค้าปลีกสามารถใช้งาน Data Mining ในการพิจารณาหากลยุทธ์ให้เป็นที่สนใจกับผู้บริโภคในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ที่ว่างในชั้นวางของจะจัดการอย่างไรถึงจะเพิ่มยอดขายได้ เช่นที่ Midas ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายอะไหล่สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ งานที่ต้องทำคือการจัดการกับข้อมูลที่ได้รับจากสาขาทั้งหมด ซึ่งจะต้องทำการรวบรวมและวิเคราะห์อย่างทันท่วงที
• กิจการโทรคมนาคม เช่นที่ Bouygues Telecom ได้นำมาใช้ตรวจสอบการโกงโดยวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของสมาชิกลูกข่ายในการใช้งานโทรศัพท์ เช่น คาบเวลาที่ใช้จุดหมายปลายทาง ความถี่ที่ใช้ ฯลฯ และคาดการณ์ข้อบกพร่องที่เป็นไปได้ในการชำระเงิน เทคนิคนี้ยังได้ถูกนำมาใช้กับลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งระบบสามารถตรวจสอบได้ว่าที่ใดที่เสี่ยงที่จะสูญเสียลูกค้าสูงในการแข่งขัน France Telecom ได้ค้นหาวิธีรวมกลุ่มผู้ใช้ให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยการสร้างแรงดึงดูดในเรื่องค่าใช้จ่ายและพัฒนาเรื่องความจงรักภักดีต่อตัวสินค้า
• การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ เก็บรวบรวมลักษณะและราคาของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดสร้างโมเดลด้วยเทคนิค Data Mining และใช้โมเดลในการทำนายราคาผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ๆ
• การวิเคราะห์บัตรเครดิต
- ช่วยบริษัทเครดิตการ์ดตัดสินใจในการที่จะให้เครดิตการ์ดกับลูกค้าหรือไม่
- แบ่งประเภทของลูกค้าว่ามีความเสี่ยงในเรื่องเครดิต ต่ำ ปานกลาง หรือสูง
- ป้องกันปัญหาเรื่องการทุจริตบัตรเครดิต
• การวิเคราะห์ลูกค้า
- ช่วยแบ่งกลุ่มและวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อที่จะผลิตและเสนอสินค้าได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
- ทำนายว่าลูกค้าคนใดจะเลิกใช้บริการจากบริษัทภายใน 6 เดือนหน้า
• การวิเคราะห์การขาย
- พบว่า 70 % ของลูกค้าที่ซื้อโทรทัศน์แล้วจะซื้อวิดีโอตามมา ดังนั้นผู้จัดการจึงควรมุ่งไปลูกค้าที่ซื้อโทรทัศน์ แล้วจึงส่งเมล์ไปยังลูกค้าเหล่านั้นเพื่อที่จะเชิญชวน หรือให้ข้อเสนอที่ดี เพื่อให้ลูกค้ามาซื้อวิดีโอในครั้งต่อไป
- ช่วยในการโฆษณาสินค้าได้อย่างเหมาะสมและตรงตามเป้าหมาย
- ช่วยในการจัดวางสินค้าได้อย่างเหมาะสม
• Text Mining เป็นการปรับใช้ Data Mining มาอยู่ในรูปของข้อมูลตัวอักษรซึ่งเป็นรูปแบบของภาษาเครื่อง SDP Infoware ตัวอย่างของงานคือใช้เป็นเครื่องมือตรวจระดับความพึงพอใจของผู้ที่เข้าชมนิทรรศการโดยผ่านการประมวลผลจากแบบสอบถาม
• e-Commerce
- ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ลูกค้ามักเข้าไปที่ web ใดตามลำดับก่อนหลัง
- ช่วยในการปรับปรุง web site เช่น พิจารณาว่าส่วนใดของ web ที่ควรปรับปรุงหรือควรเรียงลำดับการเชื่อมโยงในแต่ละหน้าอย่างไรเพื่อให้สะดวกกับผู้เข้าเยี่ยมชม ตัวอย่างการประยุกต์ Data Mining ทางด้านการศึกษา  เราต้องการนำเทคนิคดาต้าไมน์นิงไปประยุกต์ใช้กับด้านการศึกษา เนื่องมาจากเราได้เล็งเห็นว่าในปัจจุบันตามสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่มีข้อมูลต่างๆ นิสิตที่ได้ถูกจัดเก็บไว้ในเวลานาน แต่ข้อมูลส่วนใหญ่จะได้นำมาใช้ประโยชน์ตอนที่นิสิตศึกษาอยู่เท่านั้น เมื่อนิสิตจบการศึกษาไปแล้วข้อมูลก็จะได้รับการจัดเก็บไว้อย่างดี โดยที่ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร เมื่อเราคิดได้แล้วว่าเราต้องการนำเทคนิคดาต้าไมน์นิงไปประยุกต์ใช้กับการศึกษา ต่อมาเราต้องหาเป้าหมาย (Mining Objective) ว่าเราต้องการสืบค้นความรู้แบบใดจากการทำดาต้าไมน์นิงกับข้อมูลนิสิตนี้บ้างเช่น ถ้าเราต้องการนำเทคนิคดาต้าไมน์นิงมาช่วยนิสิตในการเลือกสาขาวิชาต่างๆมากมายกว่า 10 สาขาวิชา ซึ่งจะเห็นได้ว่า นิสิตส่วนใหญ่ เมื่อเข้ามาศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว พอถึงเวลาที่ต้องเลือกสาขาวิชา นิสิตจะไม่ทราบว่าความสามารถตนเองควรจะเข้าเรียนในสาขาวิชาใดจึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด ดังนั้น เราจึงเห็นว่าสมควรอย่างยิ่งที่จะนำเทคนิคดาต้าไมน์นิงมาประยุกต์ใช้กับฐานข้อมูลนิสิตโดยความรู้ (knowledge) ที่ได้จากการทำดาต้าไมน์นิงสามารถนำมาใช้ในการช่วยนิสิตเลือกสาขาวิชาได้

Web Mining

Web Mining เป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของการนำหลักการ Data Mining มาใช้กับข้อมูลที่อาจจะมีขนาดใหญ่มาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขอบเขตของระบบที่จะทำ Web Mining เช่น ถ้าข้อมูลของเราจะต้องรวบรวมและประมวลผลจากข้อมูลทั้งหมดบน web ข้อมูลก็จะมีขนาดใหญ่ แต่ถ้าเราประมวลผลในเครือข่ายที่เล็กลง หรือบนเครื่องเดี่ยว ๆ ก็จะเป็นเพียง Data Mining ขนาดเล็กนั่นเอง สำหรับกรณีนี้จะมุ่งเน้นไปที่การรวบรวมข้อมูลผ่านทาง web ซึ่งมีข้อมูลที่มากมายหลากหลายชนิด หากเรานำข้อมูลเหล่านี้มาผ่านขบวนการ Web Mining ก็จะได้ข้อมูลทองคำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการปรับปรุงการให้บริการ web โดยผู้ดูแล web เองหรืออาจจะเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ช่วยในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการได้


การประยุกต์ Web Mining

Data Mining เป็นกระบวนการสืบค้นข้อมูลสำคัญอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจออกจากกองข้อมูลขนาดมหาศาลที่จัดเก็บอยู่ภายในแหล่งฐานข้อมูลของแต่ละองค์กร การขุดค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Data Mining ประกอบไปด้วยขั้นตอนเทคโนโลยีอันสลับซับซ้อนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จดจำแบบแผนมาตรฐานของข้อมูลเฉพาะกลุ่ม (pattern recognition technology) การใช้ประโยชน์จากอัลกอริทึม ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้และพัฒนาตัวมันเองได้ (machinelearning & genetic algorithms) หรือการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในเครือข่ายเน็ตเวิร์คแบบโพลีโนเมี่ยลซึ่งเลียนแบบการทำงานระบบประสาทของมนุษย์ (Netural & Polynomial networks)

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่สลับซับซ้อนเพียงไร เป้าหมายของ Data Mining ก็เป็นเรื่องง่ายๆ คือ ทำอย่างไรถึงจะเอาชนะคู่แข่งทางธุรกิจให้ได้ ทำอย่างไรถึงจะรู้ได้ว่าประชากรกลุ่มไหนคือ ลูกค้า เป้าหมาย(Who) และประชากรกลุ่มนี้ต้องการซื้ออะไร (What) ซื้อที่ไหน (Where) ซื้อเมื่อไหร่ (When) และที่สำคัญที่สุดก็คือ อะไรคือแรงขับเคลื่อนให้ลูกค้าเป้าหมายต้องการสินค้าที่ว่านั้น (Why) ซึ่งคำถามหลักๆ เหล่านี้เมื่อมาผนวกเข้ากับรูปแบบการดำเนินธุรกิจยุคดิจิตอลที่มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นสมรภูมิการตลาดอันไร้พรมแดน ก็ส่งผลให้เทคโนโลยี Data Mining กลายสภาพมาเป็นเครื่องมือการตลาดที่สำคัญมาก สำคัญขนาดที่ว่า นักธุรกิจรายใดไม่ให้ความสำคัญกับมัน ก็อาจจะถูกคู่แข่งทางการค้าของตนทิ้งห่างไปเลย


Data Warehouse และ Data Mining

สิ่งสำคัญที่จะต้องทำในการทำ Data Mining ก็คือ การกำหนดข้อมูลที่เหมาะสมในการ mining ดังนั้น Data mining จึงต้องการแหล่งข้อมูลที่มีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลไว้อย่างดีและมีความมั่นคง เหตุผลที่ต้องมี Data warehouse ที่มีการจัดเก็บข้อมูลที่ดีสำหรับเตรียมข้อมูลเพื่อทำการ mining ก็คือ
1 Data warehouse จะทำการจัดเก็บข้อมูลที่มีความมั่นคงและข้อมูลที่ได้ทำความสะอาดแล้ว ซึ่งการจัดเตรียมและรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการ mining ที่ต้องการความแน่ใจในความแม่นยำของ predictive models
2 Data warehouse จะเป็นประโยชน์สำหรับการ mining ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลายๆแหล่งที่ค้นพบมากมายเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่ง Data warehouse จะบรรจุข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเหล่านั้น
3 ในการเลือกส่วนย่อยๆของ record และ fields ที่ตรงประเด็น Data mining จะต้องการความสามรถในการ query ข้อมูลของ Data warehouse
4 การศึกษาผลที่ได้จากการทำ Data mining จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ถ้าหากมีการสืบค้นข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อไปในอนาคต ซึ่ง Data warehouse จะเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลภายหลังไว้ให้
ปกติแล้ว Data mining และ Data warehouse จะเป็นสิ่งคู่กัน ผู้ขายจำนวนมากจึงหาวิธีที่จะนำเทคโนโลยี Data mining และ Data warehouse มารวมเข้าไว้ด้วยกัน


สรุป

คลังข้อมูลขององค์กรเป็นการรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลของระบบงานปฏิบัติงานประจำวัน แล้วนำมาวิเคราะห์ปรับปรุง ให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการใช้งาน มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึง จัดเก็บข้อมูลดังกล่าว แล้วจึงนำ เข้าไปเก็บในคลังข้อมูล (Data Warehouse) ที่ได้จัดทำขึ้น การจัดทำระบบคลังข้อมูลจำเป็นต้องพิจารณาในหลาย ๆ ปัจจัย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการลงทุนและการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีของระบบ ทั้งฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์ แวร์ ที่จะนำมาใช้ ทีมพัฒนาต้องมีความพร้อมในเรื่องของวิสัยทัศน์ในเชิงบวก และความสามารถในการพัฒนาระบบ



เอกสารอ้างอิง

http://www.vcharkarn.com/varticle/40511
เอกสารคู่มือการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารและอินเตอร์เน็ต (ITM640)
http://th.wikipedia.org/
http://compcenter.bu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=75&Itemid=172
http://www2.cs.science.cmu.ac.th/useminar/2543/dataware/Introduction.htm
http://techinnoreview.exteen.com/20090611/data-warehouse

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Storage Attached Network (SAN)
ในสังคมปัจจุบัน เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ไอทีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลก็มีมากขึ้น และยังมีความหลากหลายของข้อมูล ทั้งภาพและเสียง ซึ่งอยู่ในรูปของมัลติมีเดีย นักพัฒนาจึงจำเป็นต้องมีการคิดค้น พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อมาแก้ไขในการจัดเก็บข้อมูลให้เหมาะสม ในการนำไปใช้งานให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย Storage จึงเป็นเทคโนยีที่นำมาแก้ปัญหาดังกล่าว ถ้าให้ความหมายสั่น ๆ ของ Storage ก็คือ พื้นที่เก็บข้อมูลทางอีเล็กโทรนิค หรือ อาจจะรู้จักกันในนามของ Hard Drive นั้นเอง ในอดีตมีการจัดเก็บข้อมูลบน Server ซึ่งมีปริมาณข้อมูล ไม่มากเหมือนปัจจุบัน ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลบน Server คือจะทำให้เกิดคอขวด หรือการแออัดของข้อมูล อันเนื่องมาจากการร้องขอข้อมูลกันเป็นจำนวนมาก Storage Solution ที่คิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวมีคุณสมบัติพิเศษอีกหลายประการอย่างเช่น ช่วยให้องค์กร ประหยัดต้นทุนทางด้าน Hardware ที่นำมาใช้จัดเก็บข้อมูล ตัวอย่างเช่น หากเรามี Server หลายตัว ซึ่งแต่ละตัวก็จะมี Disk ของตัวเอง บางเครื่องก็ใช้ Disk มาก บางเครื่องก็ใช้ Disk น้อยเครื่องที่ใช้มาก เวลาเพิ่มก็เพิ่ม Disk หลายลูกเพราะต้องทำ RAID และ Hot Spare พอเพิ่มไปกว่าจะใช้หมด Disk ก็ใกล้พัง จะเห็นว่า การใช้ Disk ของแต่ละเครื่องนั้นเสียไปโดยใช่เหตุ Disk ลูกนึงราคาก็ปาเข้าไปหลายหมื่นบาท เพราะฉะนั้น Storage จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เทคโนโลยี่เกี่ยวกับ Storage มีอยู่ 3 แบบหลักๆ แบบแรกเรียกว่า DAS (Direct Attach Storage) คือการเพิ่ม เพิ่ม External Disk เข้าไปเรื่อยๆ ใน Server ขององค์กร แบบที่สองเรียกว่า NAS (Network Attach Storage) คือการนำ Storage SERVER ต่อเข้ากับ Network โดยผ่านโปรโตคอล TCP/IP และในแบบที่สามก็คือ SAN (Storage Area Network)

ภาพการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร

มาทำความรู้จักกับ SAN
เทคโนโลยีของการจัดเก็บข้อมูล ได้ถูกพัฒนาไปไกลมาก เหตุผลที่ทำให้เกิดการพัฒนา เนื่องมาจากความต้องการในด้าน ถ่ายเทข้อมูลข่าวสารที่ประกอบด้วยข้อมูลภาพ เสียง รวมทั้งข้อความต่าง ๆ มีปริมาณที่มากขึ้น รวมทั้งการจัดเก็บและการค้นคืน ข้อมูลดังกล่าว ต้องการใช้เวลาให้น้อยลง แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีการประมวลผล ของเครื่องพีซีรวมทั้ง Server ได้ก้าวมาสู่ ระดับใกล้เคียงกับ ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ แล้วก็ตาม แต่ข้อจำกัดที่สำคัญคืออัตราความเร็วในการให้บริการข้อมูลของ Server ขึ้นอยู่กับระบบบัสภายในของแผงวงจร Mother Board ด้วย เหตุนี้การนำอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลไปไว้ใน Server ไม่สามารถ แก้ปัญหาการบริการข้อมูลสำหรับองค์กรที่มีขนาด ใหญ่ให้มีความรวดเร็วขึ้นได้ จึงเป็นที่มาของการคิดค้นเทคโนโลยีระบบ การจัดเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าว คือแนวคิดการนำอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลไปไว้ในเครือข่าย เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาไปสู่ เทคโนโลยีที่เรียกว่า SAN โดยจุดประสงค์ของการนำอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลไปไว้ในเครือข่ายอีกประการหนึ่งคือ ต้องการให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับข้อมูลผ่านเครือข่ายได้เลย โดยไม่ขึ้นอยู่กับระบบบัสของเครื่อง Server ดังนั้นเครื่อง Server จึงทำหน้าที่เป็นเพียงสื่อกลางในการติดต่อข้อมูล ระหว่างผู้ใช้งานบนเครือข่าย กับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเท่านั้นเราเรียก ระบบการทำงานเช่นนี้ว่า Network Attached Storage (NAS)

NAS คืออะไร
NAS เปรียบเสมือน Server ตัวหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ เหมือน Server อย่างเช่นการพิสูจน์สิทธิ์ในการเข้าใช้ หรือการรับส่ง Email ของผู้ใช้งาน NAS ประกอบด้วย Hard Disk จำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ถูกติดตั้งอยู่ใน Server บนเครือข่าย อุปกรณ์ NAS สามารถติดตั้งอยู่บนเครือข่ายได้มากกว่าหนึ่งรายการ ซึ่งจะดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บและถ่ายเทข้อมูลตามที่ผู้ใช้ร้องขอเข้ามา NAS จึงเปรียบเสมือน Node หนึ่ง บนระบบเครือข่าย การจัดการค่าต่าง ๆ NAS ให้สามารถใช้งานได้โดยผ่านซอฟแวร์ซึ่งทำให้สะดวกในการปรับแต่งค่าต่าง ๆ


ข้อแตกต่างระหว่าง SAN กับ NAS
การทำงานหลักของ NAS มีอย่างเดียวคือ การให้บริการจัดเก็บข้อมูลในปริมาณมหาศาล ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านทางเครือข่ายโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ส่วน SAN จะเป็นเครือเฉพาะ ที่ประกอบขึ้นด้วยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลต่างหาก มีอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ด้วยความเร็วที่สูงมาก โดยใช้โปรโตคอลอย่างเช่น Fibre Channel (FC) เป็นต้น ซึ่งข้อแตกต่างระหว่าง SAN กับ NAS ดังต่อไปนี้

1. SAN เป็นระบบเครือข่ายที่ถูกจัดสร้างขึ้นเพื่อการเชื่อมต่อกับข้อมูลโดยเฉพาะ มีรูปแบบการทำงาน รวมทั้งการ บริหารจัดการของตนเอง เช่นกระบวนการประมวลผลด้าน I/O และเป็นการทำงานที่ไม่ขึ้นตรงกับ Server

2. SAN ใช้โปรโตคอล Fibre Channel ส่วน NAS ใช้โปรโตคอล TCP/IP ที่อยู่ในระดับเครือข่ายทั่วไป
สวนประกอบของ SAN มีส่วนประกอบสี่ส่วน โดยจะครอบคลุมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางด้าน I/O ระบบจัดเก็บข้อมูลรวมทั้งดูแลเกี่ยวกับการทำงานของระบบ ดังต่อไปนี้

1. ระบบเครือข่าย SAN มีระบบเครือข่ายของตนเองที่ต่างไปจากระบบเครือข่ายทั่วไป ที่ทำงาน ในระบบ Client/Server ที่ประกอบขึ้นด้วย Server และเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน บนระบบเครือข่าย

2. ระบบ Hardware เช่นเดียวกับเครือข่ายอื่น ๆ ทั่วไป SAN จะต้องประกอบขึ้นด้วยอุปกรณ์จัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลที่สามารถรองรับรูปแบบของข้อมูลที่เป็นเฟรม (Frame) ที่ใช้อยู่ในระบบ Fibre Channel ดังนั้นส่วนประกอบที่สำคัญคือ Fibre Channel Hub หรือ Switching Hub ไม่ใช่ Ethernet Switching Hub รวมทั้ง Fibre Channel Interface (Adapter Card) ในการเชื่อมต่อสัญญาณจะผ่านทางสาย Fbre Optic ซึ่งเป็นสายสัญญาณหลัก

3. ระบบ Software SAN สามารถทำงานภายใต้ระบบ Software ที่แยกออกเป็นชุดต่าง ๆ เรียกว่า Fabric ที่ประกอบขึ้นเป็นระบบเครือข่าย Fibre Channel นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็น Software ที่ใช้ในการสื่อสารกับระบบปฏิการอย่างเช่น Windows หรือ ระบบ UNIX

เทคโนโลยี Fibre Channel
Fibre Channel เป็นเทคโนโลยีสำหรับการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่อัตราข้อมูลได้ถึง 10 Gbps โดยเฉพาะ Fbre Channel เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้อุปกรณ์จัดเก็บร่วมกันและสำหรับการเชื่อมต่อภายในของตัวควบคุมจัดเก็บและไดร์ฟ เนื่องจาก Fibre Channel เร็วกว่า 3 เท่า จึงได้เริ่มแทนที่ Small Computer System Interface (SCSI) เป็นอินเตอร์เฟซการส่งผ่านระหว่างแม่ข่ายและกลุ่มอุปกรณ์จัดเก็บ Fibre Channel มีความยืดหยุ่นมากกว่า คือ อุปกรณ์สามารถอยู่ห่าง 10 กิโลเมตร (ประมาณ 6 ไมล์) ถ้าไฟเบอร์ออปติคได้รับการใช้เป็นตัวกลางทางกายภาค ไฟเบอร์ออปติคไม่จำเป็นสำหรับระยะทางสั้นกว่า เพราะ Fibre Channel ทำงานกับ coaxial cable และสายโทรศัพท์ twisted pair แบบเดิม Fibre Channel ให้อินเตอร์เฟซ Point-To-Point, switched และ loop สิ่งนี้ได้รับการออกแบบทำงานภายในกับ SCSI โปรโตคอล Internet Protocol (IP) และโปรโตคอลอื่น แต่ได้รับการวิจารณ์ว่าขาดความสอดคล้องกัน (เช่น เทคโนโลยี SCSI) เพราะผู้ผลิตแปลข้อกำหนดแตกต่างกันและนำไปใช้หลากหลาย มาตรฐานสำหรับ Fibre Channel ได้รับการระบุโดยมาตรฐาน Fibre Channel Physical and Signaling และ ANSI X3.230-1994 ซึ่งคือ ISO 14165-1

ความหมายของ Fibre Channel
Fbre Channel เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญในการสร้าง SAN และ Fibre Channel เป็นเทคโนโลยีสำหรับการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่อัตราข้อมูลได้ถึง 10 Gbps โดยเฉพาะ Fbre Channel เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้อุปกรณ์จัดเก็บร่วมกันและสำหรับการเชื่อมต่อภายในของตัวควบคุมจัดเก็บและไดร์ฟ เนื่องจาก Fbre Channel เร็วกว่า 3 เท่า จึงได้เริ่มแทนที่ Small Computer System Interface (SCSI) เป็นอินเตอร์เฟซการส่งผ่านระหว่างแม่ข่ายและกลุ่มอุปกรณ์จัดเก็บ และ Fbre Channel เป็นการส่งข้อมูลแบบ Packet หรือ Frame

ภาพประกอบแสดงถึงการเชื่อมต่อระบบ fibre channel

ส่วนสำคัญของ Fibre Channel

1. SCSI
SCSI (Small Computer System Interface) เป็นอินเทอร์เฟซมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และบัส จำนวนที่สามารถใช้งานกับ server ถูกกำหนดด้วยจำนวนอุปกรณ์ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับบัส และบัสจำนวนมากเชื่อมต่อกับ server  SCSI สามารถต่ออุปกรณ์ได้ 7- 15 ชิ้นกับ sever บน single SCSI bus เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ถูกกำจัดของ arbitration ทำให้เกิดข้อจำกัดในเรื่องของความจุในการเก็บข้อมูล นอกจากนี้การเข้าสู่ข้อมูลอาจจะสูญหายหากเกิดความล้มเหลวของการเชื่อมต่อระหว่าง SCSI กับ disks การปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการใช้ disk ที่เชื่อมต่อกับ SCSI bus ในอนุกรมไม่สามารถใช้งานได้ในสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเมื่อมีApplicationจำนวนมากจึงต้องการการทำงานที่พร้อมใช้งานได้ตลอดอย่างต่อเนื่อง

2. Fibre Channel
Fibre Channel เป็นมาตรฐานสำหรับเครือข่ายซึ่งเป็นการรวมกันของช่องทางการส่งข้อมูลซึ่งเป็นลักษณะของ I/O bus โดยเป็นการเชื่อมต่อที่มีความยืดหยุ่นและส่งได้ในระยะไกล เนื่องจากเครือข่าย SAN สามารถรองรับได้หลากหลาย protocol และรองรับอุปกรณ์ได้อย่างกว้างขวางทำให้สามารถใช้ Fbre Channel ได้ทั้งoptical Fbre สำหรับระยะทางไกล หรือ copper cable link สำหรับระยะทางใกล้และต้นทุนต่ำ
ข้อมูลถูกส่งเป็นโครงสร้างแบบ Packets หรือ frames และข้อมูลถูกทำให้เป็นชุดก่อนส่งเหมือนกับเครือข่ายอื่นๆ ทั่วไป แต่ที่แตกต่างจากเครือข่ายอื่นคือ สถาปัตยกรรมของ Fbre Channel ประกอบด้วย hardware ที่ใช้ในการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพในการส่งสูง

ลักษณะการทำงานของ Fbre Channel ในระบบเครือข่าย

1. มีประสิทธิภาพสูงในการส่งข้อมูลจำนวนมากโดยการใช้ Protocol ทั่วไปในการส่งและ hardware เข้าช่วย
2. เป็นการส่งข้อมูลแบบเป็น Serial หรือชุดข้อมูล
3. ความผิดพลาดในการเชื่อมต่อที่ต่ำ
4. ความสามารถในการส่งข้อมูลเป็นที่น่าเชื่อถือได้ หรือสามารถยืนยันได้ว่าปราศจากความผิดพลาดในการส่งข้อมูล
5. ทำข้อมูลเป็น Packet ตามนิยามของ Fbre Channel
6. ชนิดของการส่งข้อมูลมีความยืดหยุ่นซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง Data, video และ audio
7. ใช้ได้กับจำนวนอุปกรณ์จำนวนมาก สูงสุดได้ถึง 15 ล้าน Port


นับได้ว่าสถาปัตยกรรม Fbre Channel มีระดับความยืดหยุ่นสูง พร้อมใช้งานสูง และเป็นการรวมหลาย protocols ที่มีความเร็วสูงครอบคลุมการส่งระยะไกล จึงทำให้มาตรฐาน Fbre Channel เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางโดยผู้จำหน่าย ตลอดจน อุตสาหกรรม IT ซึ่งสร้างสถาปัตยกรรม Fbre Channel มาเพื่อพัฒนาเครือข่าย SAN โดยรวม

สถาปัตยกรรมของ Fbre Channel

การทำงานของ SAN ในทุกวันนี้ต้องมีการใช้ Fbre Channel เป็นพื้นฐาน เนื่องจาก Fbre Channel เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูงทั้งยังมีการส่งผ่านข้อมูลจาก node หนึ่งๆในเครือข่ายไปยัง node อื่นๆได้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ 100 MB/sec ส่วนอัตราการส่งผ่านข้อมูลที่ระดับความเร็ว 200MB/sec และ 400 MB/sec ก็ผ่านการทดสอบแล้วและคาดว่าจะนำมาใช้ในไม่ช้า Fbre Channel เป็นสถาปัตยกรรมที่นำไปใช้ใน IPI traffic, IP traffic, ICON traffic, FCP (SCSI) traffic และอีกหลายๆ traffic ใน Protocol อื่นๆ ที่อยู่ใน level เดียวกับมาตรฐาน Fbre Channel สำหรับแนวคิดพื้นฐานของ Fbre Channel สามารถแบ่งได้ดังนี้

1. Physical layer
Fbre Channel มีโครงสร้างที่แบ่งเป็น layer ต่างๆเหมือนกับ protocol อื่นๆโดย Fbre Channel มีทั้งหมด 5 layer ซึ่ง 0 จะถือเป็น layer ชั้นต่ำสุด และ layer 0 ถึง 2 จะอยู่ในชั้น Physical layer
- FC-0 จะเป็นตัวกำหนดอุปกรณ์ทางกายภาพและอัตราการส่งผ่านข้อมูลซึ่งจะประกอบไปด้วย connectors, drivers, transmitters และ receivers
- FC-1 จะเป็นส่วนของการแปลความหมาย เป็นการเข้าจังหวะเพื่อส่งข้อมูล
- FC-2 จะเป็นส่วนของ Protocol มีโครงสร้างลักษณะเฉพาะตัว สนับสนุนการทำงานแบบ
Point-to-point และ switched topologies


ภาพประกอบ ชั้น physical layer

2. Upper layers
Fibre Channel เป็นบริการที่ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่าง node ที่มีความรวดเร็วและเชื่อถือได้ layer อีก 2 layer ที่อยู่ในชั้นที่สูงขึ้นนี้เป็นการเพิ่มความสามารถในการทำงานของ Channel
- FC-3 จะเป็นการกำหนดบริการโดยทั่วไป คือ Multicast คือสามารถทำการส่งข้อมูล เพียงครั้งเดียวไปยังปลายทางได้หลายแห่ง
- FC-4 จะเป็นตัวกำหนด Protocol ที่สูงขึ้นไปอีกคือ FCP (SCSI), FICON และ IP



ภาพประกอบ ชั้น upper layer

3. Topologies
การเชื่อมต่อระหว่าง Node ของ Channel จะมี topologies ทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ
- Point-to-Point จะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง 2 node และ bandwidth ก็จะถูกใช้เพียง 2
Node นี้เท่านั้น
- Loop การเชื่อมต่อแบบนี้ bandwidth จะถูกใช้ร่วมกันระหว่างทุก node ที่ต่อเชื่อมกันภายใน loop และภายใน loop จะมีสายเชื่อมต่อกัน node-to-node ซึ่งถ้าหาก node ใด node หนึ่งไม่ทำงานก็จะทำให้ loop นี้ไม่ทำงานไปด้วยแต่ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้ hub เข้าช่วย
- Switched เป็นการเชื่อมต่อหลายๆ node เข้าด้วยกันซึ่ง switches ก็สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Circuit switches และ frame switches  Fbre Channel SAN ใช้เป็นโครงสร้างหนึ่งเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ และเป็นโครงสร้างหนึ่งที่ง่ายเท่ากับการเชื่อมต่ออุปกรณ์สองตัวด้วยสายเคเบิ้ลสายเดียว (single cable) แต่เป็นส่วนที่ใช้บ่อยมากที่สุดเพื่ออธิบายการใช้ ฮับ (hub), สวิตช์ (switch) และเกตเวย์ (gateway) ของเครือข่ายที่ซับซ้อนมากขึ้น เครือข่ายที่ใช้ Fbre Channel เหมือนกับเครือข่ายอื่นๆ แต่แตกต่างกันอย่างมากที่การไม่มี topology ที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่นๆ เครือข่ายต่างๆที่ใช้ Token Ring, Ethernet และ FDDI เป็น topology ที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่นๆและไม่สามารถใช้สื่อเดียวกันร่วมกันได้ เพราะเครือข่ายเหล่านี้มีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันสำหรับการติดต่อ สื่อสาร วิธีเดียวที่สามารถดำเนินการระหว่างกันได้คือการดำเนินการผ่าน bridge และ router การใช้สื่อของมันเองแต่ละสื่อขึ้นอยู่กับวิธีการ data encoding และความเร็วของนาฬิกา (clock speeds), รูปแบบ header (header format) และการจำกัดความยาว frame เครือข่ายที่ใช้ Fbre Channel จะรองรับ topology 3 ชนิด ประกอบด้วย point-to-point, loop (arbitrated) และ star(switched) ซึ่ง topology เหล่านี้สามารถอยู่ตามลำพังหรือติดต่อระหว่างกันเพื่อก่อให้เกิดเป็นโครงสร้างก็ได้

3.1 Point-to-Point
Point-to-Point เป็นโครงสร้างของ Fbre Channel ที่ง่ายที่สุดในการนำไปใช้ และยังเป็นการบริหารจัดการที่ง่ายที่สุดอีกด้วยการเชื่อมต่ออย่างง่ายๆนี้เองทำให้สามารถใช้เพื่อจัดการเชื่อมต่อระหว่างกันด้วยความเร็วสูงระหว่างโนด (node) 2 โนดได้ ดังแสดงไว้ในภาพประกอบ



ภาพประกอบ Fbre Channel Point-to-Point Topology



การนำการเชื่อมต่อแบบ Point-to-point ไปใช้อาจเป็นการรวมเอาการเชื่อมต่อต่างๆเข้าด้วยกัน ได้แก่
- การเชื่อมต่อระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง
- จาก workstation ถึง graphic processor เฉพาะหรือ simulation accelerator
- จาก file server หนึ่งไปยัง disk array หรือ optical jukebox

เมื่อการเชื่อมต่อและการทำงานเป็นที่ต้องการมากขึ้น อุปกรณ์แต่ละตัวสามารถถูกเชื่อมต่อ ไปยังโครงสร้างหนึ่งได้โดยไม่ต้องประสบกับปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นถัดจากต้นทุนของโครง สร้างของมันเอง

3.2. Loop และ Hub สำหรับการเชื่อมต่อ

Fbre Channel arbitrated loop เสนอให้ใช้ high bandwidths และการเชื่อมต่อที่มีต้นทุนต่ำกว่า สำหรับโนดหนึ่งที่จะทำการขนถ่ายข้อมูลต้องตัดสินชี้ขาดก่อนว่าใครจะทำการควบคุม loop โนด ที่ได้ควบคุมจะเป็นโนดที่มีอิสระในการสร้างการเชื่อมต่อแบบ point-to-point (virtual) กับโนดอื่นๆบน loop หลังจากสร้างการเชื่อมต่อแบบ point-to-point (virtual) แล้วโนดสองโนดจะใช้ bandwidth ของ loop ทั้งหมดจนกระทั่งการดำเนินการขนถ่ายข้อมูลเสร็จสมบูรณ์ เมื่อการขนถ่ายเสร็จสมบูรณ์ โนดต่างๆบน loop สามารถควบคุม loop ได้ ลักษณะพิเศษที่ทำให้ Fbre Channel arbitrated loop ได้รับความนิยม ได้แก่

- การรองรับอุปกรณ์ต่างๆถึง 126 ตัวใน loop เดียว
- อุปกรณ์ต่างๆสามารถสลับ (swap) กับการใช้ hub และผ่าน port ได้
- มีการค้นพบ loop ของตัวเอง
- การคำนวณใน port อนุญาตให้โนดที่ล้มเหลวถูกแยกออกไปจาก loop โดยไม่ไป ขัดขวางการขนถ่ายข้อมูลอื่นๆ
- การเชื่อมต่อแบบ point-to-point มีความเป็นไปได้
- loop หนึ่งสามารถถูกเชื่อมต่อไปยัง loop อื่นได้เพื่อก่อให้เกิดโครงสร้างของมันเอง
- loop หนึ่งสามารถถูกเชื่อมต่อไปยัง Fbre Channel switch เพื่อสร้าง fan-out หรือสามารถเพิ่มขนาดของโครงสร้างให้มากขึ้นได้

FC hub device ขั้นสูงจำนวนมากรองรับการเชื่อมต่อ FC loop ขณะที่มีการใช้สวิตช์ ซึ่งในภาพประกอบ แสดง FC loop ที่ใช้ hub


ภาพประกอบ Fbre Channel Loop Topology



3.3. Switch สำหรับการเพิ่มขนาด, การทำงานและการพร้อมใช้ตลอดเวลา
Fbre Channel switch มีหน้าที่ความคล้ายกับ traditional network switch เพื่อเตรียมการเพิ่ม bandwidth,ความสามารถในเรื่องของการเพิ่มขยาย, การเพิ่มอุปกรณ์ และการเพิ่มอุปกรณ์สำรองข้อมูล Fbre Channel switch ต่างๆใน port และสื่อชนิดต่างๆที่มันรองรับ สวิตช์มากมายสามารถถูกเชื่อมต่อจากโครงสร้างสวิตช์หนึ่งที่รองรับ host ของระบบจำนวนมากและระบบสำรองข้อมูลย่อย ดังที่แสดงในภาพประกอบ เมื่อสวิตช์ต่างๆถูกเชื่อมต่อ ข้อมูลทางโครงสร้างของสวิตช์แต่ละตัวจะถูกทำสำเนา (copy หรือ cascade) ภายในสวิตช์อื่นๆที่มีส่วนร่วมทั้งหมด



ภาพประกอบ Fbre Channel Switched Topology

การเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายทั้งสานแบบข้างต้น มีความเร็วของการส่งข้อมูลในระดับ Gigabit ด้วยความเร็ว 100 Megabytes ต่อ วินาทีหรือ 200 Megabytes ต่อ วินาที ในกรณีของ Full Duplex สายส่งสามารถเป็นได้ทั้งสายทองแดงและ Fbre optic โดยมีข้อจำกัดของสายส่งดังนี้

• 30 เมตรสำหรับสายทองแดง
• 500 เมตรสำหรับ Short-wave laser บน multimode Fbre
• 10 กิโลเมตรสำหรับ Long-wave laser บน single mode Fbre

เปรียบเทียบอินเทอร์เฟซแบบต่างๆ
เพื่อจะให้เห็นภาพมากขึ้น จึงได้แบ่งเรื่องที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบอินเทอร์เฟซแบบต่างๆ เป็น 4 ส่วนคือ ประสิทธิภาพในการใช้งานสูง, มีความเสถียรสูง, สามารถขยายได้ง่าย และ งบประมาณต่ำ โดยอินเทอร์เฟซแต่ละแบบมีคุณสมบัติดังนี้

1. SCSI ถือเป็นอินเทอร์เฟซที่เด่นในเรื่องประสิทธิภาพในการใช้งานและมีความเสถียรมากที่สุดในปัจจุบัน แต่ราคานั้นค่อนข้างสูงและขยายได้ไม่สะดวก
2. SATA ถือเป็นอินเทอร์เฟซที่ราคาถูกที่สุดในปัจจุบัน นิยมใช้กับการแบกอัพแบบ Disk-to-Disk แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเรื่องประสิทธิภาพและเสถียรภาพในการใช้งาน
3. Fibre Channel ถือเป็นอินเทอร์เฟซที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง, มีความเสถียรสูง, สามารถขยายได้ง่าย มักนิยมใช้กับ NAS แต่ก็มีข้อเสียที่ราคาสูงมาก
4. SAS ถือเป็นคำตอบที่สามารถตอบโจทย์ทั้ง 4 ข้อได้ รวมถึงสามารถใช้ร่วมกับฮาร์ดดิสก์ที่เป็น SATA ได้ด้วย (สำหรับข้อมูลที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก) ทำให้ประหยัดมากขึ้นอีกการเชื่อมโยงจะเชื่อมต่อด้วยระบบ Fbre Channel Hub หรือ Switch หรือเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การออกแบบระบบ SAN
ขึ้นตอนการออกแบบเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์กร และให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าในการลงทุนควรพิจารณา ดังนี้
1. ตำแหน่งหรือที่ตั้งของข้อมูล เพื่อให้เกิดการไหลของข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
2. รูปแบบการเชื่อมต่อ ระยะทาง รวมทั้งอุปกรณ์ และสายสัญญาณต้องได้มาตรฐาน
3. ขนาดความจุของอุปกรณ์จัดเก็บ สามารถรองรับข้อมูลได้เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งปัจจุบันและอนาคต
4. แพลตฟอร์มทางด้านฮาร์ดแวร์ เช่น เซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์การจัดเก็บ หรือระบบปฏิบัติการที่ใช้กับ Server
5. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความยืดหยุ่นที่จะปรับขยายขนาดของ SAN หรือเครือข่ายแลนในอนาคต
6. การบริหารหรือรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล การสำรองข้อมูลและการเรียกคืนของข้อมูลออกมาใช้ รวมถึงความถูกต้อง
7. ความทนทาน ที่สามารถรองรับได้ หากเกิดปัญหาขึ้น รวมถึงการรับประกัน และการให้บริการฉุกเฉินหลังการขาย
8. ประสิทธิภาพ และภาระหรือ Load ที่จะเกิดขึ้นบน SAN ที่อาจมีผู้คนเข้ามาใช้งานพร้อมกันเป็นจำนวนมาก
9. การรักษาความปลอดภัย และการบำรุงรักษาที่ดี

สรุป
SAN เป็นเทคโนโลยีที่คุ้มค่าต่อการลงทุนของอย่างมาก ในต่างประเทศคมีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในองค์กรกันอย่างแพร่หลาย สำหรับในประเทศไทยได้ก็มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ได้ลงทุนไปกับ SAN อย่างเช่นธนาคารและหน่วยงานที่มีการถ่ายเทข้อมูลปริมาณมาก ๆ จากการที่ปริมาณข้อมูลข่าวสารของแต่ละองค์กรมีมากขึ้นความต้องการข้อมูลมีหลากหลายรูปแบบ รวมทั้ง การนำ SAN มาใช้ในองค์กรนั้นมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลงอย่างมาก จึงช่วยให้ง่ายต่อการตัดสินใจของผู้บริหารที่จะเลือกลงทุนกับเทคโนโลยี SAN ซึ่งก็แล้วแต่ว่าละเลือกใช้ Storage แบบไหน ใครเป็นผู้ผลิต แต่ละยี่ห้อก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของเทคโนโลยี่ที่แตกต่างกันไป ทั้งเรื่องของ Software บริหารจัดการ Storage และ รวมทั้งเทคโนโลยี่การเก็บ Array ของการทำ RAID เพื่อป้องกัน Disk ให้มากที่สุดและเรื่องของการทำ Backup ที่รวดเร็วแตกต่างกันไป

ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยี SAN มาใช้ในองค์กร
1. ง่ายต่อการบริหารจัดการข้อมุล ยิ่งคุณมีปริมาณข้อมูลในระบบมากเท่าใดการจัดการย่อมยากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นโครงสร้างสตอเรจแบบ SAN จึงออกแบบมาเพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบดูแลสตอเรจได้จากศูนย์กลาง โดยผู้ดูแลระบบสามารถสั่ง กำหนดพื้นที่ใช้งานให้กับยูสเซอร์ได้ครอบคลุมอุปกรณ์สตอเรจทุกตัวที่อยู่ในระบบการแบ็กอัพข้อมูล หรือการกู้ข้อมูลก็จะทำได้ง่ายด้วยเช่นกัน
2. ช่วยลดเวลาดาวน์ไทม์ให้น้อยลง โดยไม่ต้องมีการ Shutdown Server เมื่อต้องการเพิ่มสตอเรจ หากเป็นโครงสร้างทั่วไป เมื่อจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องหยุดเซิร์ฟเวอร์ทำให้เกิดดาวน์ไทม์ขึ้นก่อน จึงจะเพิ่มสตอเรจตัวใหม่เข้าไปได้ แต่ด้วยโครงสร้างแบบ SAN นั้น ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มอุปกรณ์ใดๆ เข้าไปได้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องหยุดเซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่ระบบปฏิบัติการบางตัวอาจต้องการรีบูตระบบก่อนด้วย
3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำคลัสเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบคลัสเตอร์บางตัว อาจต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้ สร้างพื้นที่ให้กับยูสเซอร์ การใช้ SAN เป็นโครงสร้างภายในคลัสเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ทางเลือกทีเหมาะสม
4. มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงเข้ามูล ทั้งการจัดเก็บ





แหล่งอ้างอิง

ITM640 เทคโนโลยีการสื่อสารและอินเตอร์เน็ต ID : ITM0408

1 http://www.vcharkarn.com/varticle/18068/1

2. http://www.2beshop.com/storage/NAS-DAS-SAN.php

3. http://searchstorage.techtarget.com/sDefinition/

4. Micro Computer

5. http://www.google.co.th

6. http://www.thaiinternetwork.com/

7. http://www.arip.co.th/articles.php?id=405327
คลื่นความถี่ 3.9G ที่ประเทศไทย
3.9 G คืออะไร หลายท่านอาจจะงง เพราะไม่คุ้นกับตัวเลขนี้เลย ส่วนใหญ่ที่เคยได้ยินก็มีแต่ 2G-3G และถ้าใครได้ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีอยู่เป็นประจำ ก็คงจะรู้จักคำว่า 4G กันบ้างแล้ว ผมเองก็สงสัยว่าทำไมมันต้องเป็น 3.9G จึงได้พยายามหาข้อมูลและนำมาให้ท่านผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับเจ้าเทคโนโลยีตัวนี้กัน เพราะมันเป็นเทคโนโลยีที่เราคนไทยกำลังจะได้ใช้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเราจะได้ใช้เทคโนโลยีอะไรใครจะได้รับ License ในการประมูลบ้าง ต้องบอกว่าคนไทยรอคอยกันมาเป็นเวลานานพอสมควร ประเทศอื่นเขากำลังจะได้ใช้ 4G กันแล้วครับ ในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภคที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย เลยอยากให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักและศึกษาหาข้อมูลในเรื่องนี้ เราจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์กันอย่างเต็มที่ ว่าแล้วก็ไปกันเลยดีกว่าครับ
รูปที่ 1 IMT2000 Terrestrial Radio Interfaces

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ 3G กันก่อน
3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า เป็นโทรศัพท์ที่ให้บริการแบบเคลื่อนที่ (Mobile Service ) และไม่เคลื่อนที่ (Fix Service) ทั้งทางด้าน ภาพ เสียง ข้อมูล และ อินเทอร์เน็ต (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ 3.9G นั้นเป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เหมือนอย่างที่เราเรียก GPRS ว่า 2.5G และ HSDPA ว่า 3.5G ถ้าถาม ITU ผู้กำหนด มาตรฐานทางโทรคมนาคมตอนนี้เห็นจะมีเพียง1G, 2G, 3Gเท่านั้นที่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ ส่วน4Gกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อรับรองเทคโนโลยี ปี 2007 มีการรวมมาตรฐาน IP-OFDMA (IEEE 802.16 หรือ WiMAX) เข้าไป ใน IMT-2000 ด้วยทำให้ WiMAX เป็นเทคโนโลยี 3G ด้วยเช่นกันในค่ายของ GSM นั้นการที่จะพัฒนาไป 3G หนีไม่พ้นเทคโนโลยี UMTS ซึ่งใช้ air interface เป็น WCDMA (UMTS เป็นชื่อของระบบใหญ่โดยมีเทคโนโลยีที่ใช้รับ-ส่งสัญญาณผ่านอากาศ เรียกว่า WCDMA) เรามักเรียก WCDMA ว่าเป็น 3G และมีเทคโนโลยีต่อยอดเช่น HSDPA (3.5G) และ HSUPA (3.75G) หรือเรียกรวมว่า HSPA เมื่อจะพัฒนาต่อไปให้ได้ความเร็ว ในการรับ-ส่งข้อมูลสูงขึ้นมีการเสนอให้เปลี่ยนจากเทคโนโลยีพื้นฐานจาก CDMA มาเป็น OFDMA ซึ่งก็ ได้ออกมาเป็นเทคโนโลยีLTE (3.9G) โดยในระยะหลังมักมีคนเอา LTE มาโฆษณาว่าเป็น เทคโนโลยี 4G ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ถูกต้อง ในระหว่างที่ LTE ออกมานั้น HSPA ก็ยังคงพัฒนาต่อไป เรียกว่า HSPA+ มีข้อดีคือสามารถอัพเกรดมาเป็น HSPA+ ง่ายกว่าและถูกกว่า LTE แต่ ประสิทธิภาพไม่ได้เหนือไปกว่า LTE บางที HSPA+ ก็ถูกเรียกว่า 3.8G หรือไม่ก็ 3.85G (เนื่องจากมีหลายเวอร์ชั่นและเพื่อไม่ให้ตัวเลขสูงกว่า 3.9G ของ LTE) โดยทั่วไปแล้วไม่ค่อยมีคน เรียก 3.8G/3.85G แต่จะเรียก HSPA+ ตรงๆ ไปเลย ปี 2008 ITU ประกาศรายละเอียดมาตรฐาน 4G ในชื่อของ IMT-Advanced โดยคร่าวๆสามารถ รองรับความเร็วการดาวน์โหลดที่ 1 Gbps เมื่ออยู่กับที่ และ 100 Mbps เมื่อเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จะเห็นว่าข้อกำหนดดังกล่าวหินจริงๆและแน่นอนว่ายังไม่มีเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถรองรับได้ เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาไปสู่ 4G มีอยู่ 2 ค่ายคือ LTE-Advanced และ WiMAX IEEE 802.16m (HSPA+)

มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลก ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย -โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการ โทรศัพท์ เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิดให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป

รูปที่ 2 Technology Evolution Paths

วิวัฒนาการของ HSPA (HSPA+) (High Speed Packet Access) จาก HSDPA & HSUPA
เริ่มต้นที่ HSDPA เป็นเทคโนโลยีซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพข้อมูลใน downlink ให้แก่โอปเปอเรเตอร์บรอดแบนด์ไร้สาย และก่อให้เกิดการให้บริการข้อมูลยุคหน้า ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยโอปเปอเรเตอร์ทั่วโลกผนวก กับประสิทธิภาพข้อมูลสูงใน downlink ด้วยอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดกับความจุระบบที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพ latency ต่ำที่เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการเชื่อมต่อกับงบประมาณที่ดีขึ้นและพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้น รวมทั้งศักยภาพประสิทธิภาพสูงของเซลล์
- HSDPA สนับสนุนการผสมผสานคำสั่งเร็วกว่าซึ่งรวมถึง QPSK & 16QAM. 16-QAM ที่เพิ่มความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ขณะที่ QPSK มีให้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้
- HSDPA ใช้อัตราการใส่รหัสของ R = 1/3 ถึง R =1 การยึดหลักบนการรับส่งสัญญาณและสภาพแวดล้อมของช่องสัญญาณ ผู้ใช้ HSDPA ถูกจัดสรรการผสมผสานและแผนการใส่รหัสที่เหมาะสม เพื่อที่จะขยายอัตราการรับส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด กระบวนการของการเลือกสรร การปรับปรุงผสมผสานและอัตราการความเร็วในการใส่รหัสให้เร็วที่สุดถูกใช้ เพื่อเป็นการปรับปรุงการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น
- HSUPA High Speed Uplink Packet Access
HSUPA เป็นโหมดมาตรฐานใน Release 6 ที่ขยายคุณประโยชน์ของ HSDPA สู่ Uplink HSUPAแนะนำช่องสัญญาณทางกายภาพใหม่ที่เรียกว่า Enhanced Dedicated Channel (E-DCH) ซึ่งสำคัญในการก่อให้เกิดชุดของการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ uplink สูงสุด HSUPA รวบรวมความคิดและหลักการที่คล้ายคลึงใน HSDPA ดังต่อไปนี้:
• Fast Uplink Scheduling
• Fast and efficient retransmissions using Hybrid ARQ Uplink
• Shorter TTI frames for Uplink
โหมด ใหม่นี้เพื่อ uplink จะได้บรรลุในการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากของข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ลด latency และเพิ่มประสิทธิภาพของสเปคตรัม ทำให้ HSUPA ต้องการเพียงการเปลี่ยนชั้น PHY และ MAC เป็น Node Bs และ การเปลี่ยนชั้น MAC เป็น RNCs เท่านั้น
โหมด HSUPA จะทำให้อัตรารับส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 5.76 Mbps และเกือบจะสองเท่าของความจุ uplink cell ลด latency ได้สูงถึง 85% ตามระบบของ Release 99 และประสบความสำเร็จอย่างมากในการปรับปรุงอัตราความเร็วข้อมูลของผู้ใช้ เทคนิคเพิ่มเติม HSUPA ซึ่งถูกกำหนดเป็น HSPA ได้ให้การสนับสนุนที่ดีกว่าสำหรับแอพพลิเคชั่นที่ไวต่อการดีเลย์ อาทิเช่น VoIP, Video telephony และแอพพลิเคชั่นเกมมากมาย HSPA ได้เพิ่มประสบการณ์ที่ดีอย่างมากแก่ผู้ใช้ในการใช้ uplink และแอพพลิเคชั่นต่างๆ อาทิเช่น การส่งไฟล์งานและการส่งวีดีโอและรูปภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพใหม่ใน uplink ของเทคโนโลยี HSUPA ที่ใช้งบประมาณลดลงรวมทั้งการเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณทั้งในเมืองและ ชนบทด้วยขนาดของเซลล์ที่ใหญ่ขึ้น HSPA+ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการอักขั้นหนึ่งของเทคโนโลยี HSPA เพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากของ Rel 6 HSPA ในการรับส่งผ่านแบนด์วิดธิ์ 5 MHz ฟีเจอร์ของ HSPA+ เป็นมาตรฐานของ รุ่น 3GPP 7 และ8 HSPA+ เป็นวิวัฒนาการโดยตรงของ HSPA Release 6 กับโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายในปัจจุบัน HSPA+ ทำให้การทำงานตรงเวลาและประหยัดต้นทุน ด้วยการยกระดับทรัพยากรสเปคตรัมและเครือข่ายที่มีอยู่ด้วยประสิทธิภาพที่ดี ที่สุดของคลื่น 5 MHz HSPA+ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับเครือข่ายและอุปกรณ์ที่มีอยู่ของ R99/R5/R6 หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของ HSPA+ คือการช่วยให้โอปเปอเรเตอร์สามารถพัฒนาสินทรัพย์ที่มีอยู่ ((cell sites, RAN และเครือข่ายหลัก) และการใช้ในพื้นที่ที่เลือกสรรแล้วว่ามีความต้องการใช้เสียงและข้อมูลสูง HSPA+ จะยังช่วยโอปเปอเรเตอร์ในการเพิ่มการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายที่เร็วขึ้น แก่ตลาดด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

รูปที่ 3 วิวัฒนาการคลื่นความถี่ของแต่ละยุค

จากรูปที่ 3 เป็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยีคลื่นความถึ่ในยุคต่าง ๆ เริ่มจาก 1G เป็นโทรศัพท์ในยุคแรก คือระบบอนาล็อก เริ่มแพร่หลายราวปี 1980s ที่รู้จักกันดีคือ เทคโนโลยี NMT จากฝั่งยุโรปและ AMPS จากฝั่งอเมริกา  จีเอสเอ็ม (GSM ย่อมาจาก Global System for Mobile Communications ในชื่อเดิมว่า Groupe Spécial Mobile) เป็นมาตรฐานของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 80% ของมือถือทั่วโลก[ ประเทศจีนมีผู้ใช้งานเป็นอันดับหนึ่งของโลก มากกว่า 370ล้านคน ตามด้วยประเทศรัสเซีย 145ล้านคน, อินเดีย 83ล้านคน และสหรัฐอเมริกาถึง 78ล้านคน GSM เป็นมาตรฐานเปิดภายใต้การดูแลของ 3GPP GSM ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับช่องสัญญาณควบคุมและสัญญาณเสียงแบบ TDMA ซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือก่อนหน้านั้น จึงถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือในยุคที่สอง หรือ 2Gซึ่งหมายถึง การพัฒนาระบบขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งการพัฒนาอย่างแพร่หลายของ GSM เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
จีพีอาร์เอส หรือ GPRS เป็นตัวย่อ ของ General Packet Radio Service เป็นบริการส่งข้อมูลสำหรับโทรศัพท์มือถือแบบ GSM โดย GPRS มักถูกเรียกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือยุค 2.5G ซึ่งอยู่ระหว่าง 2G และ 3G ทางเทคนิคแล้ว GPRS ใช้ช่องสัญญาณแบบ TDMA ของเครือข่าย GSM ในการส่งข้อมูล ในทางทฤษฎีแล้ว ความเร็วสูงสุดของ GPRS อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลบิตต่อวินาที เอดจ์ (อังกฤษ: Enhanced Data rates for GSM Evolution: EDGE) หรือ อีจีพีอาร์เอส (อังกฤษ: Enhanced GPRS: EGPRS) เป็นระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย 2.75G ในเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดย ITU (International Telecommunications Union) คล้ายกับระบบจีพีอาร์เอส แต่มีความเร็วที่สูงกว่าคือที่ประมาณ 200-300 Kbps ซึ่งสูงกว่าจีพีอาร์เอสสี่เท่า แต่ในบางพื้นที่ถ้าหากใช้เอดจ์ไม่ได้ โทรศัพท์ก็จะเปลี่ยนไปใช้จีพีอาร์เอสเอง ช่วยให้การรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือได้มากกว่าและรวดเร็วกว่า ทั้งการเข้า WAP และ WEB รับส่ง MMS, Video/Audio Streaming และ Interactive Gaming และเป็นก้าวสำคัญเพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค 3G แอลทีอี (LTE - Long Term Evolution) หรือ 3.9G เป็นชื่อโครงการของระบบสื่อสารโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถือเป็นก้าวสุดท้ายก่อนจะพัฒนาเป็น 4G โดยมีเป้าหมายในการออกแบบให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากขึ้นและเร็วขึ้น LTE เป็นหนึ่งมาตรฐานจากกลุ่ม the Third Generation Partnership Project(3GPP) เพื่อกำหนดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความ เร็วสูงบนระบบโมบายไปสู่ระบบโมบายยุคต่อไปที่อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ 4 (4G) ทางเทคนิค LTE ถูกสร้างอยู่บนพื้นฐานของ GSM, GPRS,EDGE และ WCDMAรวมถึง HSPA อีกด้วยจึงเป็นการวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงและ Latency ที่ต่ำลง(เพื่อให้บริการที่มีลักษณะ delay sensitive services) นอกจากในมุมของผู้ให้บริการที่จะได้ใช้บริการที่หลากหลายมีสีสันมากขึ้น แล้วยังเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ช่องความถี่ที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
รูป ที่ 4 Uplink Speed

LTE ได้มีการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเทคโนโลยี นอกจากจะเป็นเทคนิคใหม่ในส่วนสื่อสารไร้สาย (ระหว่างมือถือกับสถานีฐาน) แล้วยังมีการ ปรับปรุงส่วนโครงข่ายหลักที่เดิมผสมกันระหว่าง packet และ circuit switched networks ให้กลายมาเป็น all-IP เพียงอย่างเดียวการพัฒนา นี้ช่วยลดต้นทุนของโอเปอเรเตอร์สำหรับการให้บริการที่หลากหลายทั้งเสียงวีดิโอดาต้าและยังทำให้การเชื่อมต่อกับโครงข่ายเดิมง่าย ขึ้นอีกด้วย โดยภาพต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบโครงสร้างภาพรวมระหว่างUMTSกับLTE
รูปที่ 5 UMTS and LTE architecture

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มในเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา

การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice
ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาอันเป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี 2.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีการผลักดันบริการสื่อสารข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ในรูปแบบ Non-Voice เพื่อสร้างกระแสนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 2.5G อย่างเต็มรูปแบบ หรือเป็นการผลักดันให้เกิดการยอมรับในบริการที่มีอยู่แล้ว อันได้แก่บริการ SMS ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่าบริการเหล่านี้ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่เพิ่มมูลค่าให้บริการ ARPU ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่  ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G แม้จะสามารถรองรับการสื่อสารประเภท Non-Voice ได้ แต่ก็ไม่อาจสร้างบริการประเภท Killer Application ที่ผลิกผันรูปแบบการให้บริการได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากสถาการณ์การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่แม้จะมีการเติบโตอย่างชัดเจนในตลาดประเภท Non-Voice แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็จะพบว่าบริการที่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ล้วนเป็นบริการประเภท SMS และ EMS ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดรูปภาพหรือเสียงเรียกเข้า รวมถึงการเล่นเกมส์ตอบปัญหาหรือส่งผลโหวตที่ปรากฏอยู่ตามสื่อชนิดต่าง ๆ ซึ่งบริการเหล่านี้ล้วนเป็นบริการพื้นฐานในเครือข่าย 2G ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิตรซ์ , 1800 เมกะเฮิตรซ์ หรือ 1900 เมกะเฮิตรซ์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการ จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA นอกจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีฐาน (Base Station Subsystem) จากยุค 2G ซึ่งใช้เทคโนโลยี TDMA เป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเกตเพื่อความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่สำหรับให้บริการทั้งแบบ Voice และ Non-Voice อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้บริการ (End User Perception) ถึงความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล และยังคงรักษาคุณภาพของการสนทนาที่เหนือกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังมีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ เมื่อทำการเปรียบเทียบเฉพาะด้านของอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูล จะเห็นว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายยุคใน ตระกูล
2G/2.5G/2.75G  ได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล บริการในลักษณะนี้จะกลายเป็น จุดขาย สำคัญประการหนึ่งของมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G ทั้งนี้เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ล้วนรองรับบริการ Video Telephony แล้วทั้งสิ้น จึงสามารถเปิดให้บริการดังกล่าวได้ในทันทีกล่าวโดยสรุป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA มีแนวโน้มของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G จนถึง 2.75G นั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรูปแบบของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อตอบสนองรูปแบบการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้ผลักดันบริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ UMTS Forum ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมาตรฐาน W-CDMA ซึ่งจะนำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการดังนี้ (เอกสาร Why the world has chosen W-CDMA : 24 September 2003)
1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice ในแง่ของผู้ใช้บริการจะรับรู้ได้ว่าคุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะรับรู้ถึงอัตราเร็วในการสื่อสารที่สูงกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาก อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเครือข่าย และใช้ย่านความถี่ที่สูงขึ้น
2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐาน GSM ทำให้ผู้ให้บริการ 3G สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เข้าหากันได้ถึงขั้นอนุญาตให้มีการใช้งานข้ามเครือข่าย (Roaming) เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในเครือข่ายยุค 2G นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานข้ามเครือข่ายกับมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้ในทันที โดยผู้ใช้บริการเพียงมีอุปกรณ์สื่อสารแบบ Dual Mode เท่านั้น ทำให้เกิดลู่ทางในการสร้างเครือข่าย W-CDMA เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเครือข่ายรายอื่นได้ร่วมเข้าใช้บริการ ในลักษณะของ Mobile Virtual Network Operator (MVNO) เป็นรายได้ที่สำคัญนอกเหนือจากการให้บริการ 3G กับผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภายในเครือข่าย
3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลก ที่จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว จึงเป็นการรับประกันถึงพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ การเร่งเปิดให้บริการ 3G จึงเปรียบได้กับการเร่งเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในอดีต
4. พิจารณาเฉพาะการให้บริการแบบ Voice จะเห็นว่าการลงทุนสร้างเครือข่าย W-CDMA มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเครือข่าย GSM ถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมาตรฐาน W-CDMA มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ผู้ประกอบสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรความถี่เพื่อรองรับ Voice และ Non-Voice ได้อย่างผสมผสาน ต่างจากการกำหนดทรัพยากรตายตัวในกรณีของเทคโนโลยี GSM
5. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ให้บริการที่กว้างใหญ่ ไปพร้อม ๆ กับความสะดวกในการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการรองรับข้อมูลข่าวสาร ต่างจากเครือข่าย 2G โดยทั่วไปที่ปัจจุบันเริ่มประสบกับปัญหาการจัดสรรความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเครือข่าย เนื่องจากเป็นระบบแบบแถบความถี่แคบ (Narrow Band)
6. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมหรือบริการพิเศษต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ทำการพัฒนาสร้างบริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย โดยใช้ทักษะความสามารถและความชำนาญที่มีอยู่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดบริการประเภท Non-Voice ได้สารพัดรูปแบบ
7. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในรองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราเร็วสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงมากถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่สามารถพัฒนาให้รองรับการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าเทคโนโลยี EDGE ในปัจจุบัน ซึ่งรองรับข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที และในความเป็นจริงก็ไม่สามารถเปิดให้บริการด้วยอัตราเร็วถึงระดับดังกล่าวได้ เนื่องจากจะทำให้สถานีไม่สามารถรองรับบริการ Voice ได้อีกต่อไป
8. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN (IEEE802.11b/g) หรือ WiMAX (IEEE802.16d/e/e+) ทำให้ผู้ใช้บริการเครือข่ายไร้สายสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในเครือข่ายใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมทางภูมิประเทศ โดยยังคงได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการเครือข่าย 3G
ความสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM จำนวนมากทั่วโลก รวมนักลงทุนหน้าใหม่ ให้ความสำคัญสำหรับการแสวงหาสิทธิ์ในการเปิดให้บริการเครือข่าย 3G และมีแผนกำหนดเปิดให้บริการเทคโนโลยี W-CDMA โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับต้น ๆ ของโลก 8 รายได้ตัดสินใจเลือกมาตรฐาน W-CDMA เป็นเทคโนโลยี 3G
ในท้ายที่สุด ความสมบูรณ์แบบในการรองรับธุรกิจ Non-Voice ของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะช่วยผลักดันให้เกิดห่วงโซ่ธุรกิจที่สมบูรณ์ แม้จะมีความพยายามในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศที่จะผลักดันให้เกิดการประสานผลประโยชน์อย่างลงตัวระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G/2.5G/2.75G กับผู้ประกอบการสื่อข้อมูลต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายในตระกูล GSM และ CDMA เองที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้บริการ จึงทำให้เกิดการขาดช่วงของความสมดุลในการผสานผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ FOMA ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA และประสบความสำเร็จในการดึงศักยภาพของเครือข่าย W-CDMA ให้เกื้อหนุนต่อความลงตัวสำหรับการร่วมมือในธุรกิจ Non-Voice ในประเทศญี่ปุ่นอย่างงดงาม ต่อเนื่องด้วยความคืบหน้าในการสานต่อโครงสร้างธุรกิจ Non-Voice ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศ จึงสรุปได้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะเป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Non-Voice ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้
รูปที่ 6 Evolution paths of 2G standards

การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี GSM เปลี่ยนไปเป็น WCDMA
WCDMA เป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM การพัฒนาสู่ 3G ของระบบ GSM นั้นจะต้อง "เปลี่ยน" ระบบไปเป็น WCDMA และเพราะ WCDMA เป็นการพัฒนาเข้าสู่ 3G ของระบบ GSM นี่เอง ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหลาย กำหนดให้ระบบ GSM สามารถ ทำงานร่วมกับระบบ WCDMA ได้ ในช่วงที่กำลังเกิด "รอยต่อ" หรือ ช่วง "พลัดเปลี่ยน" เทคฯ และเหตุนี้เองจึงทำได้เกิดมือถือแบบ Dual Mode (GSM/WCDMA) ขึ้นมาอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ "เราจึงเรียก WCDMA ว่าเป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM" ส่วนระบบ cdma2000 มันพัฒนามาจาก CDMA One <หรือ CDMA ธรรมดา (IS-95)> และการพัฒนาสู่ 3G ของเจ้า CDMA นี้ ไม่ต้องเปลี่ยนเทคโนโลยี การพัฒนาจึงแค่ อัพเกรด ไปตามขั้นตอนของมันดังนี้ ( CDMA > CDMA2000 1x > CDMA2000 1xEV-DO ) WCDMA วายแบนด์ซีดีเอ็มเอ - Wideband Code-Division Multiple Access เป็นเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีมาตรฐานตามข้อกำหนดของไอทียู และเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อว่า IMT-2000 WCDMA เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระบบไร้สายในยุคที่ 3 และมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายความเร็วสูง โดยมีประสิทธิภาพการทำงานเหนือกว่าเทคโนโลยีทั่วไปที่ใช้ในตลาดในปัจจุบัน

CDMA2000 1X
เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีอยู่ในเมืองไทยและผู้บริโภคสามารถใช้บริการได้แล้วในขณะนี้คือ CDMA2000 1X ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่สามารถให้บริการทั้งทางเสียงและข้อมูล ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดบริการหนึ่งในขณะนี้ เทคโนโลยี CDMA2000 1X รองรับให้บริการทั้งทางเสียงและข้อมูล โดยอาศัยเพียงแถบความถี่ ขนาด 1.25 เมกกะเฮิร์ตซ นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพรองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่าระบบ CDMA One ถึง 2 เท่าและมากกว่าเทคโนโลยีจีเอสเอ็มหลายเท่าตัว ด้วยความสามารถ ดังกล่าว จึงพร้อมจะให้บริการทางเสียง ขณะเดียวกัน CDMA20001X ยังเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย บริการมัลติมีเดีย และบริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจ รวมทั้งประชาชนทั่วไป เนื่องจากสามารถส่งความเร็วที่สูงกว่าระบบอื่น เทคโนโลยี CDMA2000 1X สามารถให้บริการข้อมูลไร้สายด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 - 90 กิโลบิตต์ต่อวินาที โดยมีอัตราสูงสุดถึง 153 กิโลบิตต์ต่อวินาที

CDMA 20001xEV-DO (First Evolution, Data Optimized)
ระบบ 1x EV-DO เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่มีระบบการส่งสัญญาณข้อมูลแบบแพคเก็ต ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง ต้นทุนต่ำเหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไปรวมถึงผู้ใช้ที่ต้องการรับ - ส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล 1xEV-DO เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี CDMA 2000 และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล CDMA 2000 ที่ได้รับการยอมรับจากสมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( ITU ) ให้เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน การสื่อสารไร้สาย ยุค 3 G ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง พร้อมด้วยรูปแบบการใช้งานที่ง่ายโดยมีลักษณะการทำงาน ที่ใกล้เคียงกับการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย อุปกรณ์การสื่อสารที่รองรับระบบ ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ การสื่อสารไร้สายประเภทอื่น ๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ เครื่องพีดีเอที่รองรับการทำงานทั้งข้อมูลและเสียง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค รวมถึงโมเด็มสำหรับรับ -ส่งข้อมูลได้แก่ การ์ด PCMCIA และโมเด็มแบบ stand-alone การใช้งานเทคโนโลยี 1xEV-DO เชิงพาณิชย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 จวบจนกระทั่งในปัจจุบัน มีผู้ใช้ บริการการสื่อสารเคลื่อนที่ระบบ 1xEV-DO มากกว่า9 ล้านคน
ยูเอ็มทีเอส (UMTS ย่อจาก Universal Mobile Telecommunications System) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีของโทรศัพท์แคลื่อนที่ในยุค 3G ซึ่งอยู่ในขั้นตอนพัฒนาต่อไปยัง 4G ในปัจจุบันรูปแบบพื้นฐานของยูทีเอ็มเอสใช้งาน W-CDMA โดยตามมาตรฐานของ 3GPP และเป็นการตอบรับกับ ITU IMT-2000 สำหรับระบบการสื่อสาร ในบางครั้งจะเรียกยูทีเอ็มเอสว่า 3GSM เพื่อบ่งบอกถึงเทคโนโลยีของ 3G และมาตรฐาน GSM  ด้วยเหตุนี้เอง เครือข่าย UMTS จึงเป็นเครือข่ายที่ผู้ให้บริการทั้งหลายต่างคาดหวังว่าจะมาช่วยตอบสนองความต้องการด้านการใช้ข้อมูลของลูกค้า รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเป็นจำนวนมาก มาตรฐานของ UMTS ในปัจจุบันนั้นมีการเผยแพร่ออกมาแล้ว 4 มาตรฐานด้วยกัน โดยหน่วยงาน 3GPP (3G Partnership Project) รับหน้าที่ในการออกแบบมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
• Release 99 เป็นมาตรฐานใช้งานที่เพิ่มเติมจากเครือข่าย GPRS และ EDGE โดยจะมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ในส่วนของ BSS (Base Station Subsystem) ซึ่งเป็นส่วนที่ดูแลการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการกับเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยกลุ่มของอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมขึ้นมานั้นมีชื่อเรียกว่า UTRAN (UMTS Terrestrial Radio Access Network)
• Release 4 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ Core-Network โดยจะมีการนำเครือข่ายแบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode) และ IP ซึ่งเป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบเป็น Packet เข้ามาใช้งานแทนเครือข่ายแบบ Circuit Switched ที่ใช้งานอยู่ในเครือข่าย GSM ในปัจจุบัน
• Release 5 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ IMS (IP Multimedia Service) โดยการทำงานของ IMS จะช่วยให้การใช้งานแบบ Multimedia ในลักษณะของ Person to Person มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
• Release 6 เป็นมาตรฐานที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก เพียงแต่เพิ่มความสามารถในการทำงานของการจดจำคำพูด (Speech Recognition), Wi-Fi / UMTS inter-working (การสื้อสารระหว่างเครือข่าย Wireless LAN กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่)

ความเคลื่อนไหวในบ้านเรา
มีข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า กทช. จะเริ่มประมูลกันได้ประมาณเดือน ส.ค. และน่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือน ก.ย. (คณะกรรมการ กทช. อีก 3 ท่านรวมทั้งประธานกรรมการฯ คนปัจจุบันกำลังจะหมดวาระเดือน ต.ค. นี้) คาดว่าผู้ประกอบการน่าจะเริ่มเปิดให้ใช้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้าเป็นอย่างช้า สำหรับราคานั้นคาดการณ์กันว่าจะเริ่มต้นที่ใบละ 10,000 ล้านบาท (reserved price) ตามที่ พ.อ. นที ได้ออกมาให้ข่าวก่อนหน้านี้ โดยที่คิดจากมูลค่าของคลื่นที่ประเมินไว้ที่ 12,000 ล้านบาทและคิด reserved price ที่ 80% ของมูลค่าคลื่น ค่าคลื่นหมื่นล้านแพงไหม? ปรกติการที่จะเปรียบเทียบค่าคลื่นต้องแปลงให้อยู่ในรูปของ ราคาต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อหัว (price/MHz/population) เสียก่อนเพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบ ของไทยถ้าคิดว่าจบที่ใบละ 12,000 ล้านบาท จะได้ประมาณ 6.3 บาทต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อหัว ซึ่งเท่ากับการประมูลคลื่นที่เยอรมันที่เพิ่งจบไปเร็วๆ นี้ แต่อย่าลืมว่าค่าครองชีพของเยอรมันกับไทยนั้นต่างกันมาก... แต่ถ้าจะสรุปว่ามันแพงไปก็ต้องไปดูที่อินเดียก่อน ที่อินเดียเค้าประมูลแยกตามแต่ละพื้นที่ พื้นที่ที่แพงที่สุดอยู่ที่เมืองเดลี โดยได้ตัวเลขออกมาอยู่ที่ประมาณ 133.75 บาทต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อหัว ส่วนพื้นที่ที่ถูกที่สุดอยู่ที่พื้นที่ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียตกอยู่ที่ประมาณ 0.83 บาทต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อหัว การจะบอกว่าราคาคลื่นของไทยถูกหรือแพงมันบอกยาก แต่ถ้าบอกว่าตอนนี้เอไอเอสจ่ายค่าสัมปทานอยู่ "ปีละ" กว่า 25,000 ล้านบาท... การจ่ายเพียง 12,000 ล้านบาทสำหรับใบอนุญาต 15 ปีนั้นถือว่าถูกสุดๆ

บทสรุป คลื่นความถี่ 3.9G ที่ประเทศไทย
3.9 G เป็นชื่อที่ใช้เรียกแทนเทคโนโลยี LTE (LTE - Long Term Evolution ) ซึ่งเป็นความถี่สูงสุดในระดับนี้ สำหรับประเทศไทยจะได้ใช้เทคโนโลยีอะไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทไหนจะเป็น ผู้ที่ได้รับ License หรือเป็นผู้ที่ชนะในการประมูลครั้งนี้นั้นเอง โดย กทช. คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน กันยายน นี้ เหตุผลที่ กทช. ใช้คำว่า 3.9G เพราะเป็นคลื่นความถึ่สูงสุดที่ผู้ประมูลได้ สามารถใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวนี้ได้สูงสุดหรืออาจใช้คลื่นความถี่ที่ต่ำลงมาก็ได้ กทช. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดเทคโนโลยีเอง ผู้ที่ได้รับ license จะเป็นคนกำหนดเว่า จะใช้ความถี่ใด และเลือกใช้เทคโนโลยีใดระหว่าง LTE (3.9G) หรือ HSPA+(3.8G) (High Speed Packet Access + ) ความเป็นไปได้น่าจะเป็น HSPA+ เนื่องจาก HSPA+ รองรับเทคโนโลยีเดิมได้ดีกว่า LTE เป็นอันว่าอีกไม่นานเราก็น่าจะมีโอกาสได้เข้าใกล้ เทคโนโลยี 4G กันแล้ว ซึ่งก็หวังว่าราคาการประมูลที่ได้ในครั้งนี้คงจะไม่แพงจนเกินไป ซึ่งก็แน่นอนถ้าประมูลได้ในราคาที่แพงมาก ผลกระทบก็จะไปตกอยู่กับผู้ใช้บริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นเอง



แหล่งอ้างอิง
1. http://www.itu.int/osg/spu/imt-2000/technology.html#Cellular%20Standards%20for%20the%20Third%20Generation
2. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550
3. http://www.manager.co.th
4. http://www.9bear.com/2010/06/39g.html
5. http://tonhor.exteen.com/20100531/3-9g-1
6. http://www.totalaircard.com
7. http://www.tj.co.th/telecomjournal/modules/news/article.php?storyid=916
8. UMTS Forum
9. http://www.telecomjournal.net/index.php
10. http://www.mobileinternetthailand.com/2010/06/10/242/
11. http://www.naikajok.krubpom.com/?name=naikajokboard&file=read&id=46
12. http://www.blognone.com/news/16605
13. http://news.sanook.com/935767.html
14. http://jows.blogspot.com
15. http://th.wikipedia.org/wiki/
ITM640 เทคโนโลยีการสื่อสารและอินเตอร์เน็ต ID : ITM0408